
สูงวัย..ไม่ลำบาก
ส่อง 5 ประเทศที่มีสวัสดิการผู้สูงอายุแบบสุดปัง
จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุไว้ว่า ปี 2565 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) และมีผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนที่มากถึง 20-30% ของประชากร แต่กลับมีผู้สูงอายุเพียง 40% ที่มีรายได้เพียงพอหลังเกษียณ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่น่าตกใจ
ทำให้คนไทยที่เคยคิดว่าสวัสดิการผู้สูงอายุเป็นเรื่องไกลตัว ได้เริ่มหันกลับมามองความเป็นจริง ว่าสวัสดิการที่มีในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายได้เลย
นับเป็นความน่ากังวลหนึ่งที่ทำให้คนวัยทำงานคิดไม่ตก เพราะถ้าหากสวัสดิการของผู้สูงวัยไม่เพียงพอ นั่นแปลว่าเราต้องเริ่มวางแผนการเงินเผื่อไว้เพื่อรองรับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นยามแก่เฒ่าตั้งแต่เนิ่น ๆ ในวันที่เรายังทำงานไหว และมีรายได้อยู่
ซึ่งนอกจากจะกระทบกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบันของเราแล้ว ยังอาจส่งผลไกลถึงอนาคต เพราะเราต้องมานั่งวางแผนทางการเงินยามเกษียณของตัวเอง ว่าควรจะมีเงินเท่าไหร่เพิ่มเติมจากสวัสดิการดี เพื่อให้เกษียณได้อย่างสำราญใจ ไม่ต้องลำบากตัวเองและครอบครัว
เมื่อพูดแบบนี้ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศอื่น ๆ จะเป็นแบบไหนกันบ้าง
มีประเทศไหนบ้างที่มีสวัสดิการผู้สูงอายุแบบปัง ๆ ที่ไม่ได้ให้แค่เงินรายเดือนหรือเงินรายปี แต่ยังให้สวัสดิการครอบคลุมไปถึงคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย เรามาแอบส่องดูกัน

1. ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แม้ชาวสวิสจะต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือเงินบำนาญยามเกษียณที่สูงติดอันดับ 6 ของโลก ซึ่งนับเป็นบำนาญจากรัฐที่ให้หลักประกันการยังชีพขั้นต่ำแก่ชาวสวิสทุกคน นอกจากนี้ยังมีบำนาญตามอาชีพและประกันอุบัติเหตุให้อีกด้วย
2. ประเทศนอร์เวย์
รัฐบาลนอร์เวย์ได้จัดสรรงบประมาณถึง 1 ใน 4 ไว้ใช้กับโครงการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้เงินช่วยเหลือประชากร ซึ่งแน่นอนว่าผู้สูงอายุในประเทศก็จะได้รับสวัสดิการนี้เช่นเดียวกัน
3. ประเทศสวีเดน
สวีเดนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ทั้งเรื่องการจัดเก็บภาษี ประกันสังคม ไปจนถึงการบริการจากรัฐ ที่ดูแลให้ถึงที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รัฐบาลสวีเดนดูแลเป็นอย่างดี หากอยู่บ้านคนเดียว รัฐจะช่วยดูแลเรื่องความสะอาด จัดการเรื่องอาหารการกิน และดูแลความปลอดภัยให้ หรือครอบครัวไหนที่ดูแลผู้สูงอายุเอง รัฐก็จะให้เงินสนับสนุนด้วย
4. ประเทศเยอรมนี
อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศเยอรมนีมีค่าแรงสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ซึ่งลูกจ้างชาวเยอรมันทุกคนต้องจ่ายเงินสบทบเงินบำนาญตามกฎหมาย และนายจ้างเองก็จะช่วยจ่ายเงินสมทบให้สูงถึงเกือบ 20% เลยทีเดียว แต่หากมีรายได้ต่ำสามารถขอยกเว้นการจ่ายเงินสมทบได้ แต่นายจ้างยังคงต้องจ่ายเงินสมทบส่วนนี้ช่วยเหลือลูกจ้างอยู่ ทำให้ชีวิตในยามเกษียณของชาวเยอรมันเป็นไปอย่างสำราญใจ เพราะมีเงินไว้ใช้จ่ายได้อย่างสบาย
5. ประเทศแคนาดา
ประเทศแคนาดามีแผนเงินบำนาญ (Canada Pension Plan) ที่ให้เงินดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยจะตั้งต้นมูลค่าบำนาญด้วยมูลค่าที่เท่ากันสำหรับทุกคน ก่อนจะนำไปรวมกับเงินอีกส่วนที่มาจากรายได้ตอนที่ผู้เกษียณยังทำงานอยู่ นอกจากนี้ยังไม่ต้องกังวลถึงเรื่องค่ารักษาพยาบาล เพราะรัฐบาลออกให้ทั้งหมด รวมไปจนถึงการจัดงานศพด้วยเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเกษียณอย่างแสนสบายสุด ๆ
ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่อยากคลายความกังวลใจ ในชีวิตยามเกษียณของตนเองตั้งแต่ตอนนี้ มาลองวางแผนให้พร้อมสำหรับการเกษียณของตนเองไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยจะดีกว่า
“เอไอเอ บำนาญ มั่นคง (AIA Annuity Fix)” ประกันชีวิตแบบบำนาญ (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้) ที่ให้คุณออกแบบชีวิตยามเกษียณที่ดีด้วยตัวคุณเอง ให้มีเงินประจำเอาไว้ใช้ในจำนวนเงินบำนาญที่คุณเลือกเองได้ จะได้ช่วยคลายกังวลกับค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ โดยสามารถเริ่มต้นได้ทันที ไม่ต้องรอจนอายุมาก เพราะยิ่งเริ่มต้นไว ก็ยิ่งใช้ต้นทุนน้อย
เอไอเอ บำนาญ มั่นคง (AIA Annuity Fix)
● ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาทต่อปี*
● เริ่มทำประกันได้ ตั้งแต่อายุ 20-55 ปี
● ไม่มีการจ่ายเบี้ยฯ ทิ้ง ผู้เอาประกันจะได้รับเงินทุกบาทคืนยามเกษียณ
● ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนครบสัญญา เอไอเอจะจ่ายทุนประกันให้กับผู้รับประโยชน์
● รับความคุ้มครองชีวิต ก่อนเริ่มรับเงินบำนาญ
● คุ้มครองจนถึงอายุ 85 ปี
● หากเริ่มทำประกันบำนาญก่อนอายุ 50 ปี สามารถเลือกเริ่มรับเงินบำนาญครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 55 - 59 ปี และสามารถรับเงินบำนาญได้ไม่น้อยกว่า 26 งวด (รายปี) หากมีอายุอยู่จนครบสัญญา
สนใจวางแผนชีวิตวัยเกษียณตั้งแต่ตอนนี้ คลิกติดต่อกลับ เพื่อฝากข้อมูลให้ตัวแทนติดต่อกลับได้เลย
*เบี้ยประกันภัยของประกันชีวิตแบบบำนาญ (ไม่รวมเบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติม) สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ตามข้อกำหนดของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194 และ 261)
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)