
หากเป็นสมัยก่อนเราคงมองว่าการฝากเงินในธนาคารนอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังได้อัตราดอกเบี้ยที่ทำให้เงินต้นที่ฝากไว้เติบโตขึ้น แต่ทว่าหากมองกลับมาถึงสภาวะเศรฐกิจในปัจจุบันที่มีอัตราเงินเฟ้อพุ่งแรงแซงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก การเก็บเงินไว้ในธนาคารอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดอีกต่อไป
เมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับจากเงินฝาก จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงเดือนกรกฎาคม แม้จะเป็นเงินฝากประจำแบบ 24 เดือน ก็ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเพียง 1.60% ต่อปี และดอกเบี้ยนโยบายที่เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ของธนาคารพาณิชย์นั้นอยู่ที่ 1.75% เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อนำตัวเลขดอกเบี้ยดังกล่าวมาเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในแต่ละปีแล้ว จำนวนเงินที่ได้รับจากดอกเบี้ยเงินฝากจะไม่สามารถชดเชยมูลค่าและกำลังซื้อของเงินที่ลดลงตามภาวะเงินเฟ้อในแต่ละปีได้อีกต่อไป
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคืออัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกของปี 2566 ที่พุ่งขึ้นสูงถึง 2.5% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางกำหนด ไปเสียแล้ว
นั่นหมายความว่าเงินที่ถูกเก็บไว้ในธนาคารแม้จะเพิ่มขึ้นด้วยดอกเบี้ย แต่กลับมีมูลค่าและกำลังซื้อที่ลดลงเมื่อเทียบกับราคาของอุปโภค บริโภคที่ต้องจ่ายออกไป ยกตัวอย่างเช่น
ฝากเงินไว้ในธนาคาร ด้วยบัญชีประเภทฝากประจำ 12 เดือน จำนวน 200,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1.75% ต่อปี
เมื่อครบปีจะได้รับเงินต้น พร้อมดอกเบี้ย เป็นเงิน 203,500 บาท ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าได้กำไรเพิ่มจากการฝากเงินมาอีก 3,500 บาท แต่ความจริงแล้ว เมื่อคำนวณอัตราเงินเฟ้อ 2.5% ร่วมด้วย อย่างง่าย ๆ ด้วยการนำ อัตราดอกเบี้ยที่ได้จากเงินฝาก - อัตราเงินเฟ้อ = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
จะเห็นได้ชัดว่ามูลค่าของเงินที่แท้จริงที่เหลืออยู่เมื่อเทียบกับมูลค่าปัจจุบันจะลดลงเหลือเพียงแค่ 185,180 บาท ซึ่งน้อยกว่าเงินต้นที่ฝากไว้ !
แม้ตัวเลขในบัญชีที่เห็นจะดูเพิ่มขึ้น แต่กำลังซื้อกลับลดไปเรื่อย ๆ เพราะอัตราเงินเฟ้อที่แซงหน้าดอกเบี้ยเงินฝากนั่นเอง
แล้วจะดีกว่าไหมถ้าหากเราจะได้รับทั้งความคุ้มครองชีวิต และสร้างโอกาสในการลงทุนไปพร้อมกันได้อย่างลงตัว

แม้ว่าจะลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป อัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีจะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินน้อยลงเรื่อย ๆ
จากการยกตัวอย่างผลตอบแทนที่จะได้รับหลังคำนวณอัตราเงินเฟ้อ จะเห็นว่าการทำประกันชีวิตควบการลงทุนยังอาจให้ผลประโยชน์ที่มีมูลค่าจริงเพิ่มขึ้น
จากจำนวนเงินต้นที่ลงทุนไว้ 1,400,000 บาท เป็น 1,774,480 บาท ด้วยอัตราผลตอบแทนที่อาจสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ รวมกับผลประโยชน์ที่จะได้รับภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์
ในขณะที่การฝากเงินในธนาคารทำให้มูลค่าหรือกำลังซื้อของเงินต้นลดลงอย่างน่าตกใจ หากดอกเบี้ยที่ธนาคารให้มีอัตราต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ
เลือกลงทุนอย่างฉลาด กับประกันชีวิตควบการลงทุน AIA Smart Wealth (Unit Linked) ที่จ่ายเงินเท่ากันแต่ผลประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างกัน
● ไม่มีเบี้ยฯ รายปี จ่ายเบี้ยฯ เพียงครั้งเดียว ขั้นต่ำ 200,000 บาท คุ้มครองตลอดชีวิต (ถึงอายุ 99 ปี)**
● ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย
● เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ผ่านกองทุนรวมที่ได้รับการเลือกสรรจากเอไอเอ
นอกจากนี้ยังมีผลประโยชน์ของกรมธรรม์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ซึ่ง เอไอเอ จะจ่ายให้กับผู้รับประโยชน์ แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าระหว่าง
● 150% ของเบี้ยประกันภัย หักจำนวนเงินที่ถอนจากการขายคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี)
หรือ
● มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน บวก 50% ของเบี้ยประกันภัย บวกมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมพิเศษ (ถ้ามี)
สนใจสมัครประกันชีวิตควบการลงทุน AIA Smart Wealth (Unit Linked) กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
¹เป็นการประมาณการเพื่อประกอบความเข้าใจเท่านั้น ซึ่งอาจแตกต่างจากผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงอย่างมีนัยสำคัญ และมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
²คำนวณจากสูตร FV = PV × (1 + real interest rate)n
* อัตราดอกเบี้ย และ อัตราเงินเฟ้อ เป็นตัวเลขสมมติเพื่อประกอบตัวอย่างการคำนวณ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย หรืออัตราเงินเฟ้อใน 10 ปี ข้างหน้าที่แท้จริง
**ตราบเท่าที่มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยกองทุนมีเพียงพอหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามตารางค่าธรรมเนียมกรมธรรม์
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
คำเตือน :
• การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์เอไอเอยูนิต ลิงค์ (aia.co.th)
• ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย