
ถึงจะเป็นประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และมีความมั่นคงทางสถานภาพการเงินมากกว่าประเทศอื่น ๆ แต่เมื่อลองดูจากสถิติแล้ว ประชากรในกลุ่มประเทศมหาอำนาจกลับมีอัตราการออมเงินในหลากหลายรูปแบบสูงกว่าที่คิด
เริ่มจากประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็นถึงผู้นำของเอเชีย มีเทรนด์การออมเงินมากมาย ทั้งที่คุ้นตากันดี หรือหนังสือ How To ต่าง ๆ ไปจนบทความบนเว็บไซต์ และล่าสุดกับเทรนด์การออมเงินที่เรียกว่า ‘Kakeibo’
‘Kakeibo’ คาเคโบะ หรือ การแยกบัญชีใช้จ่ายในครัวเรือนออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายเพื่อสิ่งจำเป็น เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอุปโภคและบริโภคพื้นฐาน
2. ค่าใช้จ่ายเพื่อสิ่งของที่อยากได้ เช่น งานอดิเรก ของสะสมต่าง ๆ เสื้อผ้าแฟชั่น หรือมื้ออาหารในร้านพิเศษ
3. ค่าใช้จ่ายเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทริปท่องเที่ยวกับเพื่อน บัตรคอนเสิร์ต ค่าเข้างานอีเวนต์ และ เฟสติวัล
4. ค่าใช้จ่ายสำรองฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมแซมบ้าน รถ และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ซึ่งประโยชน์ของการแยกบัญชีใช้จ่ายตาม 4 ประเภทนี้ จะช่วยให้สามารถคำนวณสัดส่วนที่ควรเก็บออม และมองเห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการออมอีกหนึ่งวิธี ที่เป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่น คือ การซื้อประกัน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเกิดภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง การมีประกันจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ อีกทั้งการทำประกันชีวิตก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการวางแผนชีวิต เพื่อสร้างหลักประกันในอนาคต ลดภาระให้กับลูกหลาน หากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับเสาหลักครอบครัว
ไม่ต่างกับประเทศจีน ที่หลายคนอาจชินตากับภาพไลฟ์สไตล์ที่หรูหราจนเกิดกระแสในอินเทอร์เน็ตให้เห็นบ่อยครั้ง แต่ในความเป็นจริง หลังจากวิกฤตการณ์การแพ่รระบาดของโควิด 19 ทำให้ประชากรชาวจีนมีแนวโน้มออมเงินสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 60%
การซื้ออสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการลงทุนในตลาดหุ้น หรือทองคำ นับว่าเป็นเทรนด์การออมเงินที่ชาวจีนนิยมมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะได้ทรัพย์สินแล้ว ยังเป็นอีกทางที่ทำให้เงินออมงอกเงยเป็นรายได้ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ชาวจีนยังนิยมถือกรมธรรม์ประกันชีวิตหลายฉบับเช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่น เนื่องจากแนวคิดที่ว่า ชีวิตของคนมีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบต่ออีกหลายชีวิตในครอบครัว หากเสาหลักของบ้านที่หารายได้เลี้ยงครอบครัวเกิดเสียชีวิต หรือสูญเสียความสามารถในการหารายได้กระทันหัน
แต่ในทางกลับกัน สำหรับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศในกลุ่มยุโรปหลายประเทศ การออมเงิน หรือการลงทุนกลับไม่ใช่ไลฟ์สไตล์ทางการเงินที่ตอบโจทย์มากนัก เนื่องจากภาษีที่ประชาชนจ่ายไปได้ถูกส่งคืนในรูปแบบของรัฐสวัสดิการที่สามารถดูแลและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ แรกเกิด วัยทำงาน จนกระทั่งวัยเกษียณ และแม้แต่วิธีการออมเพื่อลงทุนให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานเองก็ไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก เนื่องจากภาษีมรดกมีอัตราสูง เช่น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่เก็บภาษีมรดกสูงถึง 55% ของมูลค่าทรัพย์สิน
จึงทำให้วิธีวางแผนการเงินและการออมเงินของหลายประเทศในแถบยุโรปแตกต่างกับประเทศในแถบเอเชียอย่างสิ้นเชิง
ถ้าหากจะพูดถึงประเทศมหาอำนาจที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและค่าเงินอย่างสหรัฐอเมริกา ในช่วงภาวะเงินเฟ้อแบบนี้ การออมเงินไว้ในธนาคารนั้นก็ยังไม่ใช่ทางเลือกหลัก แต่ชาวอเมริกันนิยมที่จะกระจายความเสี่ยงจาก Bear Market หรือ ภาวะซบเซาของตลาดหุ้น ไปสู่การลงทุนในตลาดทุน อื่น ๆ ที่มีความมั่นคงมากขึ้น อย่างพันธบัตร กองทุน และมุ่งเน้นการออมในผลิตภัณฑ์ที่สร้างอัตราการเติบโตของเงินฝากได้ดีกว่าอัตราดอกเบี้ยธนาคาร
จะเห็นได้ว่าการออมเงิน และการวางแผนการเงินของประชากรในแต่ละประเทศ ที่แม้จะอยู่ในกลุ่มมหาอำนาจ ก็มีความแตกต่างกันออกไปตามสภาวะเศรษฐกิจ แนวคิด และรัฐสวัสดิการที่ได้รับ
ในส่วนของประเทศไทย สวัสดิการรัฐอาจจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง รวมถึงไม่สามารถเยียวยาได้อย่างเหมาะสมหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การว่างงานกะทันหัน การบาดเจ็บจนหรือการเสียชีวิตของคนครอบครัว ที่เป็นเหตุให้ขาดรายได้หลักไป

ดังนั้นการทำประกันชีวิตจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดภาระ และช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในรูปแบบเดียวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังช่วยรักษามูลค่าของเงินต้น ให้ไม่สูญค่าตามอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย
และไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ AIA Excellent (Non Par)ก็ถือเป็นการออมเงินในรูปแบบประกันชีวิตที่เปรียบเสมือนหลักประกันเพิ่มความมั่นคง และช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจในระยะยาว สำหรับทั้งคุณและคนที่คุณรัก
สนใจทำประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
“ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง”