
ฝนตกทุกวัน ในช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ ต้องระวังลูกน้อยอาจเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัส RSV และ โรคมือ เท้า ปาก ที่กำลังระบาดอยู่ ให้ดี
เราเข้าใจดีว่าคุณพ่อคุณแม่คงกังวลใจ ไม่ว่าลูกน้อยจะเจ็บป่วยด้วยโรคอะไรก็ตาม แต่หากเราสามารถรู้จักและหาวิธีรับมือโรคนั้นก่อนได้ก็ถือว่ามีแต้มต่อ เรามาทำความรู้จัก 2 โรคระบาดในเด็กยอดฮิตกันเลย
1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัส RSV
เป็นโรคที่พบระบาดบ่อยในเด็กเล็กและเด็กเล็กวัยเรียน พบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus (RSV) ซึ่งไวรัสชนิดนี้ ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง และมักมีการระบาดของโรคทุกปีในช่วงปลายฝนต้นหนาว
การแพร่ติดต่อของโรค
เด็ก ๆ มีโอกาสติดเชื้อไวรัส RSV ได้ โดยติดต่อผ่านทางการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น ของเล่น ลูกบิดประตู โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น หลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัส RSV มาแล้วจะแสดงอาการได้เร็วที่สุดหลังติดเชื้อประมาณ 2 วัน และช้าที่สุดประมาณ 8 วัน แต่โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลังจากรับเชื้อประมาณ 4 - 6 วัน
อาการของโรค RSV จะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป เช่น มีไข้ ไอ-จาม คัดจมูก มีน้ำมูก แต่ในเด็กกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 - 2 ปี ซึ่งภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง รวมถึงเด็กที่คลอดก่อนกำหนด และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ อาจมีอาการรุนแรง และมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ (หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบ) รวมไปถึงถ้าเชื้อลงไปที่ลำไส้ก็จะมีอาการท้องเสีย โดยมักมีอาการไข้สูง ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด ซึ่งบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และมีโอกาสเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส RSV
- ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนมื้ออาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ นอกจากนี้ผู้ใหญ่ควรล้างมือก่อนและหลังการสัมผัสเด็กเล็กที่ป่วย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ และการไปในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น
- หมั่นทำความสะอาดบ้าน และพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิด ของเล่นเด็ก และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำที่สะอาด และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด และ ไอ จาม ให้ถูกวิธี
พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการลูกหลานอย่างใกล้ชิด หากป่วยแล้วควรหยุดอยู่บ้านก่อนจนกว่าจะหาย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อออกไปสู่คนอื่น
2. โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth)
เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) หลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคมีโอกาสเกิดได้ประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้หยุดเรียนรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ หากพบว่ามีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารและดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
การแพร่ติดต่อของโรค
ส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่กระจายและติดต่อได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน นอกจากนั้นในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน ก็ยังสามารถพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า
อาการของโรค
อาการที่เห็นชัด คือ มีตุ่มแผลในปากหรือในคอ มีผื่นแดงหรือตุ่มใสที่มือ เท้า ตามตัว หรือรอบทวารหนัก ประกอบกับการมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ อาเจียน ถ่ายเหลว มักระบาดในช่วงฤดูฝน ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว คือ เมื่อพบว่าลูกเป็นโรคมือ เท้า ปาก ต้องให้หยุดเรียนและแจ้งให้โรงเรียนทราบ รวมถึงเลี่ยงการพาลูกไปสถานที่สาธารณะ โดยหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 3 - 6 วัน จะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยการมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1 - 2 วัน จะมีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบ ๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7 - 10 วัน
การป้องกันโรค ทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยให้สะอาด
- ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น และใช้ช้อนกลาง
- หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่ และอุปกรณ์ เครื่องใช้ ให้สะอาดอยู่เสมอ
- ไม่ควรพาเด็ก ๆ ไปในสถานที่ที่คนพลุกพล่าน เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า
- ผู้ดูแลเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระ ของเด็กที่ป่วย
เราขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน เตรียมพร้อมให้ดี เพื่อลดความกังวลในเรื่องการเจ็บป่วยและค่ารักษาพยาบาลของลูกน้อย จึงขอแนะนำประกันสุขภาพ AIA H&S Extra (New Standard) เพื่อเพิ่มความอุ่นใจเรื่องค่ารักษาพยาบาล เพราะครอบคลุมค่ารักษาทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)* รวมถึงคุ้มครองค่ารักษาโรคโควิด 19 ทุกสายพันธุ์ รวมถึงโรคอุบัติใหม่ต่าง ๆ
- คุ้มครองตั้งแต่อายุ 15 วัน – 75 ปี ต่ออายุถึง 84 ปี
- หากไม่เคลมมีเงินคืน**
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้***
เพราะในตอนนี้ ทั้ง 2 โรคนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงต้องรักษาไปตามอาการ และถ้าพบว่าลูกมีอาการ ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาทันที
เพิ่มความอุ่นใจเรื่องสุขภาพของลูกน้อยวันนี้ คลิกด้านล่างเพื่อติดต่อตัวแทน AIA เลย
*เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
**รับผลประโยชน์เงินคืนพิเศษ กรณีที่ไม่มีการเรียกร้องผลประโยชน์ใดๆ จากผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน หรือผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก หรือผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ภายในรอบปีกรมธรรม์นั้นๆ (โดยไม่มีการขาดอายุหรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมนี้ระหว่างปีกรมธรรม์) รวมทั้งได้มีการชำระเบี้ยประกันภัยในรอบปีกรมธรรม์ถัดไปภายในระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ กรณีที่ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน ต้องชำระเบี้ยประกันภัยอย่างน้อย 3 งวดติดต่อกัน
***เบี้ยประกันภัยสุขภาพ (ถ้ามี) เฉพาะส่วนที่เข้าเงื่อนไขสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูล : ฝ่ายสินไหมประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย กรมการแพทย์ และ กรมควบคุมโรค