
วนกลับเข้าสู่ช่วงสิ้นปีกันอีกครั้ง เราจึงต้องเตรียมตัวเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันให้พร้อม ซึ่งเราก็สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน
ถ้าอยากรู้ว่า เราควรซื้อประกันแบบไหนดี และ ประกันแบบไหนที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้บ้าง? ตามมาดูกันเลย
อยากซื้อประกันให้คุ้มค่า และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ควรเริ่มพิจารณาเรื่องใดบ้าง?
1.กำหนดความคุ้มครองที่เราต้องการ
ลองตรวจสอบตัวเองก่อนว่า เรามีความต้องการที่จะทำประกันเพื่ออะไร โดยให้ลองพิจารณาว่าเราต้องการอะไรจากการทำประกัน เช่น ต้องการเน้นความคุ้มครองและป้องกันความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับคนข้างหลัง หรือเราเป็นที่พึ่งสำคัญของครอบครัว แบบนี้เราอาจจะต้องมองหาประกันที่เน้นไปในเรื่องของความคุ้มครองชีวิตมากกว่าการออมทรัพย์ หรือถ้าเน้นเรื่องของการแบ่งเบาค่ารักษพยาบาลจากปัญหาสุขภาพและโรคร้ายแรง ก็ควรมุ่งไปที่ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง และถ้าเรามองเรื่องของการออม หรือการได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อถึงเป้าหมาย หรือเงินในวัยเกษียณ แบบนี้อาจจะเลือกทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.พิจารณาความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน
อย่าลืมว่าการทำประกันนั้น เราอาจจะไม่ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วความคุ้มครองคงอยู่ตลอดไปจนครบสัญญา แต่เรายังมีภาระที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของกรมธรรม์ ดังนั้นจึงควรพิจารณาต่อไปอีกสักนิดว่า เราต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่สำหรับความคุ้มครองหรือหลักประกันที่เราต้องการ และเรามีความสามารถในการจ่ายเงินจำนวนนี้ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ อีกทั้งเบี้ยประกันภัยสุขภาพบางประเภทยังปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยอีกด้วย เพราะเมื่อซื้อประกันแล้วมีการทำผิดเงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันภัยขึ้นมา อาจทำให้กรมธรรม์ของเราสิ้นสุดความคุ้มครอง หรือต้องมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบอายุ ซึ่งก็จะทำให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากค่าลดหย่อนประกันชีวิต/ประกันชีวิตแบบบำนาญ/ประกันสุขภาพของเราสิ้นสุดลงไปด้วยเช่นกัน
3.ดูที่ความต้องการด้านความคุ้มครองและหลักประกันที่ต้องการก่อน
ควรเน้นที่ความต้องการด้านความคุ้มครองและหลักประกันของเราเป็นหลัก เรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเรื่องรอง โดยควรเน้นที่วัตถุประสงค์ในการป้องกันและแบ่งเบาความเสี่ยงที่ต้องการ และความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันภัยของเราก่อน แล้วค่อยมาดูสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต่าง ๆ
เช็กให้ดี ประกันแบบไหนที่ลดหย่อนภาษีได้บ้าง?
1) ประกันชีวิตและประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ของตัวเอง เบี้ยประกันภัยลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยประกันชีวิตที่จะนำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นประกันชีวิตของบริษัทในประเทศไทยที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ในส่วนของประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมของกรมธรรม์เท่านั้น ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เช่นกัน ขอแนะนำ
- AIA 20Pay Life (Non Par) ประกันชีวิตเพื่อความคุ้มครองแบบตลอดชีพ จ่ายเบี้ย 20 ปี ได้รับความคุ้มครองตลอดชีพ หรือจนอายุครบ 99 ปี พร้อมรับเงิน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อเสียชีวิต หรือมีชีวิตอยู่เมื่อครบสัญญา ส่วนกรณีได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลาจากประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลา ขอแนะนำ
- AIA Excellent (Non Par) ประกันชีวิตเพื่อการสะสมทรัพย์ ที่เสริมความอุ่นใจยิ่งขึ้นด้วยความคุ้มครองจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นเป็นระยะ
2) ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงของตัวเอง ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ขอแนะนำ
- AIA Health Happy ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่คุ้มครองทั้งสุขภาพทั่วไป และครอบคลุมโรคร้ายแรง
- AIA Multi-Pay CI ประกันโรคร้ายแรง เจอ จ่าย หลายจบ ที่ช่วยเตรียมพร้อมเรื่องค่ารักษาก่อนจะเป็นโรคร้ายแรง และก่อนป่วยโรคร้ายแรงซ้ำ
3) ประกันชีวิตแบบบำนาญของตัวเอง ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง แต่ไม่เกิน15% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี รวมถึงเมื่อนำไปรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF แล้ว จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี โดยประกันชีวิตที่จะนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ต้องเป็นประกันชีวิตของบริษัทในประเทศไทยที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ขอแนะนำ
- AIA Annuity Fix ประกันชีวิตแบบบำนาญ ตอบโจทย์ทั้งช่วงเวลาการออมตามเป้าหมาย และช่วงเวลารับเงินบำนาญยามเกษียณ
4) ประกันสุขภาพของคุณพ่อและคุณแม่ บุตรสามารถนำเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ทำให้กับคุณพ่อคุณแม่ของตนเองมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี โดยท่านทั้งสองต้องมีเงินได้พึงประเมินต่อปีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
จะเห็นได้ว่าเราสามารถใช้ประกันเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมทั้งสิ้นสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ดังนั้นเราจึงควรวางแผนและเลือกความคุ้มครองให้ครอบคลุมเพียงพอกับความต้องการ และสอดคล้องกับสิทธิในการลดหย่อนภาษีไปพร้อม ๆ กัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกติดต่อตัวแทน AIA ด้านล่างนี้เลย
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูล กรมสรรพากร และ สำนักงาน คปภ.