
“โรคมือ เท้า ปาก” โรคระบาดในเด็กช่วงฤดูฝน !! แค่สัมผัสก็ติดเชื้อได้
เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตหน้าฝนที่เกิดขึ้นกับเด็ก โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Enterovirus เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ ซึ่งอาจจะมีไข้ต่ำหรือไข้สูงก็ได้ ตามด้วยการมีแผลในปาก ซึ่งพบได้หลายตำแหน่ง ตั้งแต่บริเวณของเพดานแข็ง เพดานอ่อน หรือบางคนก็พบที่กระพุ้งแก้ม หรือที่ลิ้นได้ บางคนเป็นเยอะก็จะลามออกมาที่ริมฝีปาก หรือรอบ ๆ ริมฝีปากเลยก็มี และมีผื่นที่มือที่เท้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นตุ่มแดง ๆ หรือบางครั้งก็เป็นตุ่มน้ำใส ๆ เกิดบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า เป็นต้น
ส่วนภาวะแทรกซ้อนก็อาจพบได้ แต่พบได้น้อยมาก ๆ โดยเฉลี่ยประมาณ 1 - 5 รายต่อปี ภาวะก้านสมองอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุด ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตสูง คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังลูกป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ต้องสังเกตให้ดีว่าลูกมีอาการที่น่ากังวลหรือไม่ เช่น มีอาการซึมลง หายใจหอบ หายใจเร็ว มีอาการชัก เกร็ง หมดสติ หรือมือสั่น ขาสั่น เดินเซ ถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรจะต้องรีบพากลับมาพบแพทย์

อาการของโรคมือ เท้า ปาก
หลังจากเด็กได้รับเชื้อ 3 - 6 วัน จะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1 - 2 วัน จะมีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่ได้ และไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม มีตุ่มพองใสแดงที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ผื่นมักจะไม่คัน และหายเป็นปกติภายใน 7 – 10 วัน
หากเด็กเป็นโรคนี้ไม่ควรไปโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ อีกทั้งยังต้องแจ้งให้ทางโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็ก ทราบ เพื่อการเฝ้าระวังโรค

การป้องกันและการรักษาโรคมือ เท้า ปาก
ถึงแม้โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ผู้ปกครองสามารถป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ให้กับบุตรหลานได้โดย
1. รักษาความสะอาด ล้างมือทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ภายหลังการขับถ่าย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม
2. หมั่นทำความสะอาดของใช้และของเล่นเด็กเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และใช้ช้อนกลางตักอาหาร
3. ตัดเล็บเด็กให้สั้น เพื่อป้องกันการเกา
4. หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในสถานที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะรักษาตามอาการ โดยปกติมักไม่รุนแรง และหายได้เองหากไม่มีอาการแทรกซ้อน ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ถ้าผู้ป่วยเจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ หรือมีอาการเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ ป้อนนม และอาหารอ่อน
หากพบว่ามีไข้สูง มีอาการซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ควรรีบนำไปพบแพทย์ทันที
หากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล แนะนำให้มีประกันสุขภาพ AIA H&S Extra (New Standard) เตรียมพร้อมไว้ เพราะ
- คุ้มครองตั้งแต่อายุ 15 วัน – 75 ปี ต่ออายุถึง 84 ปี
- คุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)
- หากไม่เคลมมีเงินคืน*
- เบี้ยประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้**
เพิ่มความอุ่นใจเรื่องสุขภาพของลูกน้อยช่วงหน้าฝน คลิกด้านล่างเพื่อติดต่อตัวแทน AIA เลย
*รับผลประโยชน์เงินคืนพิเศษ กรณีที่ไม่มีการเรียกร้องผลประโยชน์ใดๆ จากผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน หรือผลประโยชน์กรณีไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก หรือผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ภายในรอบปีกรมธรรม์นั้นๆ (โดยไม่มีการขาดอายุหรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมนี้ระหว่างปีกรมธรรม์) รวมทั้งได้มีการชำระเบี้ยประกันภัยในรอบปีกรมธรรม์ถัดไปภายในระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้ กรณีที่ชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน ต้องชำระเบี้ยประกันภัยอย่างน้อย 3 งวดติดต่อกัน
**เบี้ยประกันภัยสุขภาพ (ถ้ามี) เฉพาะส่วนที่เข้าเงื่อนไขสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
รวบรวมข้อมูล ฝ่ายประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย