
ซ้อมตาย ก่อนตาย
มาทำความรู้จัก จิตวิทยากับการยอมรับความตาย และการเตรียมพร้อมสู่ความตาย เพราะความเจ็บป่วยเมื่ออายุมากขึ้น กระทั่งความตายยิ่งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ การยอมรับความตาย หมายถึง การแสดงออก ทางกาย วาจาและจิตใจว่ามีความเข้าใจและยอมรับได้ของบุคคลที่มีต่อความตาย หรือการสูญเสียชีวิตของตนเองหรือผู้อื่น
การใช้ชีวิตอยู่ที่ดีพออาจส่งผลให้เป็นเหตุปัจจัยของการเผชิญต่อความตายได้ดี อย่างไรก็ตามความตายก็เป็นสิ่งที่ทุกคนพยายามทำความเข้าใจ จึงอาจมีความรู้สึกต่อความตายแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ความเชื่อของตนเอง เช่น กลัว กังวล และยอมรับได้ เป็นต้น จึงนำมาซึ่งพฤติกรรมในการวางแผนและใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน การแสวงหาที่แตกต่างกัน ความยึดเหนี่ยวจิตใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่แตกต่างกัน ตลอดจนความเชื่อมั่นต่อการมีชีวิตอยู่ เพื่อหลีกหนีความทุกข์ และอิ่มเอมกับความสุขในชีวิตได้
จากมุมมองของการยอมรับความตายทางพุทธศาสนา และจากประสบการณ์การศึกษาปฏิบัติ พบว่าความตาย จัดเป็นทุกข์ชนิดหนึ่งในชีวิต ที่หากบุคคลสามารถเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรม โดยเฉพาะในส่วนของอริยสัจข้อสุดท้าย คือ มรรค 8 ซึ่งเนื้อหาหลักธรรม เน้นให้เรียนรู้เพื่อปฏิบัติแต่ในสิ่งที่เหมาะสม จนช่วยให้เห็นแนวทางพ้นทุกข์ โดยเมื่อนำมาเทียบข้อปฏิบัติและจัดหมวดหมู่ตามลำดับการใช้งานจริงแล้ว มรรค 8 สอดคล้องกับ หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง โดย ไตรสิกขา จะมุ่งเน้นในการฝึกอบรมพัฒนากาย วาจา จิตใจ และปัญญา เพื่อให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุด สู่ความหลุดพ้นทุกข์เหมือนกันนั่นเอง
เมื่อวิเคราะห์ เทียบคำสอน มรรค กับ ไตรสิกขา พบว่ามีความเชื่อมโยงกันและมีเป้าหมายสู่ความปล่อยวางเพื่อพ้นทุกข์ ดังนี้
ไตรสิกขา 3
1. ศีล 2. สมาธิ และ 3. ปัญญา
มรรค 8
1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
จะเห็นว่า หลักธรรม มรรค 8 สอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ในเรื่อง ศีล ได้แก่
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
4. สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
ส่วนหลักธรรม มรรค 8 สอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ในเรื่อง สมาธิ ได้แก่
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
สุดท้ายหลักธรรม มรรค 8 สอดคล้องกับหลักไตรสิกขา ในเรื่อง ปัญญา ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า เมื่อถือศีลมั่นคง ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ พยายามกระทำการใด ๆ ด้วยสติที่มั่นคง ก็จะเกิดปัญญา นำไปพิจารณาที่สุดแล้วจะเกิดความปล่อยวาง และหลุดพ้นได้นั่นอง หากปฏิบัติได้จริง ก็สามารถถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมของจิตใจ ซ้อมตาย ก่อนจากโลกนี้ไปจริง โดยไม่จำเป็นต้องเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายหรือได้รับความทุกข์ที่รุนแรงในชีวิตก่อนการปฏิบัติ รวมถึงสามารถพัฒนาความเข้าใจในความตาย และความทุกข์ต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างไม่ยากลำบาก และสามารถยอมรับได้เป็นอย่างดีในที่สุดซึ่งถือว่าเป็นการยอมรับต่อความตายอย่างแท้จริงจากประสบการณ์ของตนเองไม่ใช่จากการจินตนาการ
นอกจากนี้การยอมรับความตายของบุคคลนั้น ยังมีความสำคัญต่อคนรอบตัวอย่างมาก กล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมากในการช่วยเยียวยาและแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ และที่สำคัญคือ สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ตนเอง ครอบครัว ผู้ดูแลพยาบาล ในระหว่างการดูแลประคับประคองก่อนถึงวันลาจาก นอกเหนือจากการดูแลเรื่องความเป็นอยู่ ค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการให้การดูแลด้านจิตใจ ในระดับบุคคลไปจนถึงสังคม ที่เน้นในเรื่องการปล่อยวางและยอมรับความตาย กระทั่งการเตรียมตัวก่อนตาย โดยประยุกต์หลักธรรมไตรสิกขามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตของผู้ป่วย ผู้ดูแล ตลอดจนบุคลากรสาธารณสุขมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการให้การดูแลแบบองค์รวม สร้างทัศนคติเชิงบวกได้ดีเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และความตายในสังคมก่อนได้รับวินิจฉัยว่าเจ็บป่วย เพราะการดูแลแบบประคับประคองในช่วงท้ายทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้การยอมรับความตายของบุคคลอยู่ในระดับที่ดีได้ ในทางกลับกันจากมุมมองทางพุทธศาสนา บุคคลผู้ปฏิบัติเจริญในไตรสิกขามาดีแล้วจะมีระดับการยอมรับความตายอยู่ในระดับที่ดีได้ และยังช่วยให้การดูแลแบบประคับประคองความเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่นและเป็นธรรมชาติได้
เพื่อเตรียมตัวลาจากอย่างมีคุณภาพ นอกจากยอมรับความตายแล้ว ควรเริ่มเตรียมพร้อมส่งต่อมรดกและความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับคนข้างหลัง แม้ตายไปก็ได้ขึ้นชื่อว่าใช้ชีวิตคุ้มค่า ส่งต่อเงินก้อนให้ความมั่นคงสู่ลูกหลาน
ขอแนะนำ เอไอเอ เลกาซี เพรสทีจ พลัส (ไม่มีเงินปันผล) กรมธรรม์ที่ให้คุณเลือกกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ยได้เอง พร้อมได้รับความคุ้มครองที่สูง และยาวตลอดชีวิต และสามารถส่งต่อทรัพย์สินให้กับคนที่เรารักได้ รับเงินสูงสุดถึง 90% * กรณีแพทย์วินิจฉัยว่าตกอยู่ในภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ** โดยไม่ต้องรอเสียชีวิต พร้อมยกเว้นการชำระเบี้ยประกันภัยหลักที่เหลือ***
** ผลประโยชน์ภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย จำนวนเงินเอาประกันภัยภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 90 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์นี้จากการคำนวณจำนวนเงินเอาประกันภัยภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย หารด้วยจำนวนเงินเอาประกันภัยหลัก และคูณด้วยผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต
*** ผลประโยชน์ยกเว้นเบี้ยประกันภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายผลประโยชน์ตามข้อ ** แล้ว บริษัทจะยกเว้นเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิต (ไม่รวมภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย คือ ผลสรุปการวินิจฉัยโรคหรือการบาดเจ็บที่รุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ ตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์สัญญาเพิ่มเติม)