
รู้หรือไม่?! “ลำไส้” เสมือนเป็น “สมองที่สองของมนุษย์”
หากลำไส้มีปัญหา อาจจะส่งผลเสียทั้งด้านร่างกายและจิตใจเลยทีเดียว
เนื่องจากลำไส้ของเรามีเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ รวมถึงภายในลำไส้ยังมีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดเดียวกับในสมองอยู่มากถึงร้อยละ 95 ของปริมาณเซโรโทนินทั้งหมดในร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง จึงได้ฉายาว่าเป็น “สมองที่สองของมนุษย์”
สมองที่สองนี้ ไม่เพียงควบคุมการย่อยและดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้เท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกสำคัญของชีวิตด้วย เพราะในลำไส้ยังมีจุลินทรีย์ธรรมชาติ ที่นอกจากทำหน้าที่ย่อยอาหารแล้ว ยังมีการหลั่งของสารสื่อประสาทเหมือนในสมอง ซึ่งเกี่ยวกับข้องกับจิตประสาท อารมณ์ การนอน และความรู้สึกต่าง ๆ คอยปลดปล่อยฮอร์โมนต่าง ๆ ที่มีผลต่ออวัยวะทั้งหมดของร่างกาย รวมถึงสมองด้วย ซึ่งประสาทเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน สามารถเชื่อมกันส่งต่อถึงกันและกันได้ เรียกได้ว่าลำไส้มีความรู้สึก รู้จักคิด และแสดงอารมณ์ได้ไม่ต่างจากสมองเลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดความเครียด ส่วนใหญ่เรามักจะคิดว่าเป็นเรื่องของสมอง แต่ความเครียดนี้จริง ๆ แล้วส่งผลกับลำไส้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเครียดจึงอาจเกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ทำให้เราปวดท้องได้ บางคนเมื่อเกิดความเครียดจะมีอาการท้องเสีย หรือบางคนท้องผูก และจะมีอาการทางจิตใจร่วม คือ อารมณ์หงุดหงิด เป็นต้น นั่นเป็นเพราะเกิดกระทบต่อการสารเซโรโทนินที่ร่างกายของเราผลิตได้ ซึ่งสื่อประสาทในร่างกายของเราเชื่อมกันหมด เมื่อเกิดปัญหาที่จุดหนึ่ง อาจกระทบได้หลายจุดมากกว่าที่คิด และอาจเป็นจุดที่หลายคนคาดไม่ถึงก็เป็นได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพลำไส้
มีหลายปัจจัย และมักจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลร่วมกันเสียด้วย โดยปัจจัยหลัก ๆ คือ ไลฟ์สไตล์ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรานั่นเอง ทั้งการทานอาหาร ความเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การออกกำลังที่มากหรือน้อยเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมีส่วนทำลายลำไส้ การทานยาบางชนิดที่ทำลายผนังลำไส้ได้ รวมถึงโลหะหนัก สารพิษ เชื้อโรคที่รับเข้าไปในร่างกายโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ
หากเราดูแลสมดุลใน “ลำไส้” ได้ไม่ดี อาจเป็นบ่อเกิดของสารพัดโรคโดยไม่รู้ตัว เพราะภาวะลำไส้ที่ไม่ปกติ ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล จนอาจกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารอื่น ๆ เช่น สารต้านการอักเสบ สารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งหลั่งออกมาในลำไส้ แล้วส่งผลถึงทั้งร่างกายและจิตใจได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพลำไส้ให้ดี จึงมีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตได้ รวมถึงส่งผลต่อสุขภาพองค์รวมของเราที่ให้ดีขึ้นนั่นเอง
ผลเสียต่อสุขภาพจิต
ลำไส้มีความเชื่อมโยงกับอารมณ์ ปัจจัยหนึ่งที่เชื่อมโยงลำไส้กับอารมณ์โดยทั่วไปของเราก็คือ สารเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาททางเคมี ที่ส่งผลต่อการทำงานหลายอย่างของร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางจิตใจด้วย โดยประมาณ 80-90% ของสารเซโรโทนินทั้งหมดที่ร่างกายสร้างได้ เกิดขึ้นจากบริเวณทางเดินอาหาร ซึ่งมากกว่าการผลิตออกมาจากสมองเสียอีก
การมีความเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงอาจจะลดระดับของสารเซโรโทนินที่ลำไส้สร้างได้ลง ส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล และส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ รวมถึงความสุข และระดับความกังวล ของเราได้ จนอาจทำให้กลายเป็น “โรคซึมเศร้า” ได้ในที่สุด
ผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย
หากลำไส้มีความผิดปกติ จะทำให้สารเคมีในลำไส้ไม่สมดุล และส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายอย่างมาก
• ระบบภูมิคุ้มกัน
เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ การที่ภูมิคุ้มกันต่ำลงจึงเกี่ยวเนื่องกับลำไส้โดยตรง เพราะ 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันอาศัยอยู่ในลำไส้นั่นเอง ดังนั้นเมื่อลำไส้มีปัญหาจึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นต้น
• ระบบย่อยและดูดซึมอาหาร
เมื่อลำไส้มีสุขภาวะที่ดีก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากเกิดภาวะลำไส้แปรปรวน หรือภาวะลำไส้รั่ว จะทำให้ระบบย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ ซึ่งผลเสียที่ตามมา คือ ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนั้นยังอาจทำให้สารพิษ สารเคมี เชื้อโรคต่างๆ สามารถเล็ดลอดผ่านเข้ามาในร่างกายได้

ดังนั้น การทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ จึงเป็นการช่วยทำให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้น ซึ่งย่อมทำให้สุขภาพร่างกาย และจิตใจ ดีขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังทำให้ฮอร์โมนสมดุลขึ้นด้วย เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งผลต่อฮอร์โมนและสุขภาพของเราอย่างมาก ให้พลังงานในอาหารเยียวยาตัวเอง พร้อมดูแลลำไส้ไปด้วย ดังนั้น เอไอเอ จึงนำผักและผลไม้ที่เป็นมิตรต่อลำไส้มาฝากกัน ดังนี้
• แอปเปิล มีประสิทธิภาพล้างพิษ และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
• แคร์รอต ดีต่อระบบย่อยอาหาร และช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียตัวร้ายในระบบทางเดินอาหาร
• มะนาว นำไปผสมกับน้ำอุ่นดื่มตอนเช้า จะช่วยระบบย่อยอาหารให้สมดุลขึ้น
• พริกสด ช่วยให้ร่างกายหลั่งน้ำลายออกมามากขึ้น ลดภาระของกระเพาะและลำไส้
• ถั่ว มีไฟเบอร์สูง ลดการสะสมของสารพิษในลำไส้
• หอมแดง อุดมด้วยสารบำรุงลำไส้ถึง 4 ชนิด มีคุณสมบัติช่วยย่อย และทำให้เจริญอาหาร
• ใบกะเพรา ช่วยขับน้ำดี ย่อยไขมันได้ดีขึ้น ลดอาการจุกเสียด ช่วยลดการหลั่งกรด ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ที่มากเกินไป จึงทำให้บรรเทาอาการปวดท้องได้
• กะหล่ำปลีเขียว บรรเทาอาการอักเสบของแผลในลำไส้ หรือแผลในกระเพาะอาหาร
• กระเทียม ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการอาหารไม่ย่อย เพราะช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้จึงช่วยลำเลียงอาหารในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
ที่สำคัญควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง และอาหารรสเผ็ด เนื่องจากว่าสารเหล่านี้จะไปรบกวนการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ก่อการอักเสบในร่างกายซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันนั่นเอง นอกจากเรื่องการทานอาหาร คุณควรจัดการกับความเครียดในแบบของคุณ รวมถึงพยายามปรับปรุงการนอน เพราะถ้าคุณรบกวนนาฬิการ่างกายด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการนอน ก็จะเป็นการรบกวนวงจรของจุลินทรีย์ในลำไส้ไปด้วยนั่นเอง
• ระบบการเผาผลาญ
ความเครียด สารเคมี และอาหารที่ตกค้างในร่างกาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อลำไส้ และรบกวนระบบเผาผลาญ จนอาจทำให้เพิ่มโอกาสเป็นโรคอ้วนและมีปริมาณไขมันที่มากเกินเกณฑ์มาตรฐาน ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง อารมณ์แปรปรวน น้ำหนักขึ้นง่ายแต่ลงยาก เป็นต้น
• ระบบขับถ่ายผิดปกติ
เมื่อลำไส้มีความผิดปกติ เช่น โรคไอบีเอส หรือโรคสำไส้ทำงานแปรปรวน จะส่งผลให้ระบบขับถ่ายผิดปกติตามไปด้วย เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือเป็นทั้ง 2 แบบสลับกัน เป็นต้น ดังนั้นควรขับถ่ายให้เป็นเวลาและทุกวัน เพื่อป้องกันการสะสมและการคั่งค้างของสารพิษในร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีหลายโรคที่เกี่ยวเนื่องกับลำไส้ เช่น โรคที่เกิดจากพฤติกรรม หรือ Non-communicable Diseases (NCDs) โรคเหล่านี้ เป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ ระบบการเผาผลาญ ฮอร์โมน หลอดเลือดต่าง ๆ เมื่อลำไส้ผิดปกติอาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่าง “โรคมะเร็งลำไส้” ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในวัยทำงาน โดยอาการเตือนที่มักปรากฏให้เห็นของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสียอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรืออาจมีอาการท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง
เมื่อรู้ว่าลำไส้มีความสำคัญมากกว่าที่คิดขนาดนี้ แล้วคุณ...เตรียมพร้อมเรื่องสุขภาพและโรคร้ายแรงไว้แค่ไหน?!
วางแผนสุขภาพให้มั่นใจตั้งแต่วันนี้ ด้วย ประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงแบบแพ็กคู่ ที่สามารถซื้อเพิ่มจากความคุ้มครองที่มีได้เลย เพื่อเพิ่มความครอบคลุมทุกเรื่องสุขภาพและโรคร้ายแรง ให้คุณเบาใจเรื่องค่ารักษาพยาบาล และอุ่นใจหากป่วยโรคร้ายแรงไม่คาดคิด เอไอเอ ขอแนะนำคู่นี้
•AIA Health Saver ประกันสุขภาพที่ช่วยเซฟเบี้ยฯ แต่ให้ความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่าย1 คุ้มค่า เพราะเบี้ยฯ เริ่มต้นแค่เดือนละ 575 บาท2 คุ้มครองเพิ่มเป็น 2 เท่า3 สำหรับ 6 โรคร้ายแรง4 ยอดฮิต เหมาะที่จะซื้อเพื่อเพิ่มความคุ้มครองจากสวัสดิการ 5 ที่มี
• AIA Multi-Pay CI ประกันโรคร้ายแรง ที่ให้คุณเคลมได้สูงสุด 11 ครั้ง รวมสูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย6 แม้เป็นโรคร้ายแรง 7 หลายครั้งก็มั่นใจ ได้ว่าจะมีเงินก้อนไว้รักษาตัว ก็ไม่สร้างภาระให้ครอบครัว
ร้อนนี้! มีทั้งคู่อุ่นใจยิ่งกว่า
เริ่มสร้างหลักประกันสุขภาพช่วงซัมเมอร์
ด้วยการทำแบบประกันสุขภาพ คู่กับแบบประกันโรคร้ายแรงจากเอไอเอ
พิเศษ !!! เมื่อสมัครทั้งประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงคู่โดยชำระเบี้ยประกันภัยรวมขั้นต่ำ 10,000 บาท และลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์เอไอเอ
รับกระเป๋าถือ “AIA RABBIT COLLECTION” มูลค่า 490 บาท
ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2566 นี้เท่านั้น*
คลิกด้านล่างเพื่อติดต่อตัวแทน AIA เลย
เงื่อนไขเพิ่มเติม
1 ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์ 2 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 - 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท
3 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 - 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 - 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
4 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
5 สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลประกันกลุ่มของนายจ้าง และ/หรือสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาล (ถ้ามี) และ/หรือประกันสังคม (ถ้ามี) และ/หรือประกันสุขภาพส่วนตัวที่มีอยู่ (ถ้ามี) เป็นต้น
6 รับผลประโยชน์ โรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง 40% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุด 5 ครั้ง และโรคร้ายแรงระดับรุนแรง 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุด 6 ครั้ง
7โรคร้ายแรง หมายถึง โรคร้ายแรงตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ บันทึกสลักหลังผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง มีดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack), โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke), การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery), โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer), การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation), และการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- เงื่อนไขโปรโมชันเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก แก้ไขรายละเอียดหรือเงื่อนไขต่างๆ โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค และ กรมสุขภาพจิต