
ทานพาราฯ อย่างไรให้ถูกวิธี ความคุ้นชินที่หลายคนอาจมองข้าม!
เมื่อมีอาการปวดศีรษะหรือเป็นไข้ เชื่อว่าการรับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นวิธีบรรเทาอาการอย่างแรกที่หลายคนนึกถึง ด้วยความคุ้นชินนี้เอง จึงอาจทำให้หลายคนทานยาพาราฯ ไม่ถูกวิธี หรือมีความเชื่อในการทานยาพาราฯ แบบผิด ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ ดังนั้นเรามาดูกันว่า วิธีการทานยาพาราฯ ที่ถูกต้องควรทานอย่างไร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมากที่สุด
ยาพาราเซตามอล หรืออีกชื่อหนึ่งคือ อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและลดไข้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดหลัง ปวดตัว ฯลฯ สามารถทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

4 ข้อแนะนำสำหรับการทานยาพาราเซมอลให้ถูกต้อง
1. รับประทานยาในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัว
วิธีทานยาพาราเซตามอลที่ถูกต้อง ต้องพิจารณาน้ำหนักตัวของผู้ป่วยก่อนรับประทาน โดยขนาดยาที่เหมาะสมคือ 10 - 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งวิธีการรับประทานตามขนาดยา ดังนี้
ยาพาราเซตามอลชนิดเม็ด ขนาด 325 มิลลิกรัม
● ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 22-33 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
● ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 33-44 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง
● ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 44 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 2 เม็ด
ยาพาราเซตามอลชนิดเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
● ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 34-50 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
● ผู้ที่มีน้ำหนักตัว 50-67 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง (ไม่เกิน 5 ครั้ง/วัน)
● ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 67 กิโลกรัม ให้รับประทานครั้งละ 2 เม็ด (ไม่เกิน 4 ครั้ง/วัน)
2.ทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
การทานยาพาราเซตามอล สามารถทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่จะต้องทานยาห่างกันอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง หากลืมทานยาให้ทานทันทีที่นึกได้ โดยไม่ต้องทานชดเชยทีเดียว 2 เท่า เพราะจะทำให้ได้รับยาเกินขนาด และให้ทานยารอบต่อไปหลังจากนั้น 4 – 6 ชั่วโมงตามปกติ
3.ไม่ทานยาดักอาการ ควรทานยาเมื่อรู้สึกปวดหรือมีไข้เท่านั้น
การทานยาพาราเซตามอล ควรทานเมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้แล้วเท่านั้น ห้ามทานยาดักอาการไว้ก่อนเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาด และส่งผลเสียต่อตับและไตได้
4.ไม่ควรทานยาเกิน 8 เม็ด/วัน และติดต่อกันนานเกิน 5 วัน
ใน 1 วัน ไม่ควรทานยาเกิน 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัม และไม่ควรทานยาติดต่อกันเกิน 5 วัน หากทานยาแล้วอาการปวดหรือไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด
ไม่ว่าคุณจะมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการทานยาหรือปัญหาสุขภาพ การพูดคุยกับแพทย์จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพราะ เอไอเอ มีบริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) สำหรับลูกค้าที่มีความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD)* ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และมีบริการส่งยาถึงบ้าน** ใช้งานง่ายเพียงปลายนิ้ว
สนใจประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
*เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
**เอไอเอไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่งต่าง ๆ เช่น การเดินทางของบุคลากรทางการแพทย์และการจัดส่งยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- บริการพบแพทย์ออนไลน์ให้บริการโดย บริษัท ชีวีบริรักษ์ จำกัด ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม (“ชีวี”) และ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (“ทรูดิจิทัล”) ซึ่งเป็นบริษัทนอกกลุ่มบริษัทเอไอเอที่มีความเป็นอิสระ กลุ่มบริษัทเอไอเอไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ชีวี หรือ ทรูดิจิทัล ในแง่ของการถือหุ้นและผู้บริหาร และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใดๆ ของ ชีวี หรือ ทรูดิจิทัล
- บริการพบแพทย์ออนไลน์เป็นชื่อทางการตลาดของการรักษาพยาบาลโดยการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine)