
ไขข้อสงสัย
หนึ่งคนสามารถทำประกันได้สูงสุดกี่ฉบับ
สำหรับคำถามที่ว่า “หนึ่งคนสามารถทำประกันได้สูงสุดกี่ฉบับ” จริง ๆ แล้วก็ต้องบอกว่าไม่ได้มีข้อกำหนดใดที่ระบุว่าเราสามารถทำประกันได้กี่ฉบับ ดังนั้นแล้วจะทำประกัน 1 ฉบับ, 2 ฉบับ หรือแม้แต่ 10 ฉบับ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำประกัน รูปแบบความคุ้มครองที่เราต้องการ ความสามารถในการจ่ายเบี้ยฯ ของเราเองและเงื่อนไขการพิจารณารับประกันภัยของบริษัท
ต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่า โดยปกติแล้วการซื้อประกันสักหนึ่งกรมธรรม์จะประกอบไปด้วยสัญญาหลักและสัญญาเพิ่มเติม รวมกันเป็น 1 กรมธรรม์ โดยสัญญาหลักนั้นมีแบบประกันหลากหลายประเภท เช่น ประกันชีวิต ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ ซึ่งเปรียบเสมือนหัวจักรรถไฟ เป็นสัญญาหลักที่ให้ความคุ้มครองชีวิตในระยะยาว
ในขณะที่สัญญาเพิ่มเติม เช่น สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ก็เปรียบเสมือนโบกี้ของรถไฟ ที่ต่อพ่วงกับสัญญาหลัก เป็นสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายมากับประกันชีวิต เพื่อให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมเป็นรถไฟ 1 ขบวน ที่ให้ความคุ้มครองเราในด้านต่าง ๆ ตลอดอายุสัญญา ซึ่งรถไฟของเราจะมีหัวขบวนหรือโบกี้ยาวเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรานั่นเอง
สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่นคงทั้งกับตัวเองในอนาคตและคนข้างหลัง กล่าวอย่างง่าย ๆ คือ ต้องการทำประกันเพื่อเน้นหลักประกันในชีวิต หรือเพื่อการวางแผนการเงินในอนาคตให้กับตนเองและครอบครัว ก็สามารถเลือกที่จะมีหัวจักรรถไฟมากกว่า 1 หัว โดยจะเลือกทำประกันชีวิตเพื่อความคุ้มครองชีวิตในระยะยาว ควบคู่ไปกับการทำประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ หรือประกันชีวิตควบการลงทุน ก็สามารถทำได้
การทำประกันชีวิตในลักษณะนี้ มักมีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งต่อความมั่นคงทางชีวิตและการเงินให้แก่คนข้างหลังเมื่อยามที่เราจากไป หรือเพื่อเป็นการวางแผนการเงินในอนาคต รวมถึงการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน โดยแบ่งเงินออมส่วนหนึ่งมาไว้ในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย และความเสี่ยงในการขาดทุนที่ต่ำกว่า
โดยสิ่งที่ควรพิจารณาหลัก ๆ เลยก็คือความพร้อมในการจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อปี เพราะยิ่งทำประกันมากฉบับเท่าไหร่เบี้ยฯ ก็ยิ่งสูงตาม และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราหยุดจ่ายเบี้ยฯ ความคุ้มครองก็จะหยุดลงทันที ยกเว้นประกันชีวิตควบการลงทุนบางแผนเท่านั้นที่สามารถทำการหยุดพักชำระเบี้ยฯ ได้ แต่ยังคงความคุ้มครองไว้ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต
แต่สำหรับใครที่ต้องการเน้นความคุ้มครองอย่างครอบคลุม การมีหัวจักรรถไฟเพียงตู้เดียว แต่มีโบกี้โดยสารยาวกว่า ก็อาจเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการได้เช่นกัน หรือก็คือการทำประกันชีวิตเพียง 1 ฉบับ แต่พ่วงด้วยสัญญาเพิ่มเติมอย่าง ประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรง ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นนั่นเอง
ซึ่งทางเลือกนี้ก็จะทำให้เราได้รับทั้งความคุ้มครองครอบคลุมชีวิต จากประกันชีวิต ค่ารักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย จากประกันสุขภาพ และเงินก้อนเพื่อใช้จ่ายในในกรณีที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงจากประกันโรคร้ายแรง

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เรามีประกันสุขภาพมากกว่า 1 ฉบับ และเกิดเหตุต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยมีค่ารักษาพยาบาลที่สูงมากจนเกินวงเงินเอาประกันประกันสุขภาพฉบับแรก ก็สามารถเบิกเคลมต่อในเล่มที่สองหรือสามต่อไปได้
เช่น ค่ารักษาพยาบาลรวม 30,000 บาท มีการเคลมค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพเล่มแรกจนเต็มวงเงิน 20,000 บาท แล้ว ก็สามารถนำส่วนต่างที่เหลืออีก 10,000 บาท ไปเคลมต่อในประกันสุขภาพเล่มที่เหลือได้เพื่อให้ครบจำนวนตามค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามจริง
หรือในกรณีที่เราเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและมีการทำประกันโรคร้ายแรงไว้ ก็จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินก้อนเพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่ขาดไปได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้สำหรับใครกำลังวางแผนซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ให้กับตัวเองหรือครอบครัว เอไอเอ ขอมอบสิทธิพิเศษ 2 ต่อ
● ต่อที่ 1 : ส่วนลดเบี้ยประกันภัยปีแรก สูงสุด 20% สำหรับแบบประกันที่ร่วมรายการ*
● ต่อที่ 2 : รับ Lotus’s e-Voucher มูลค่า 1,000 บาท เมื่อใช้โค้ดส่วนลดซื้อกรมธรรม์ใหม่และแบบประกันที่ร่วมรายการ**
สนใจสมัครประกัน เอไอเอ พร้อมขอรับโค้ดส่วนลด กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
*ดูรายละเอียดแบบประกันที่ร่วมรายการ ได้ที่ https://www.aia.co.th/th/campaigns/ecm/discount-condition?cmpid=thdm-dc-cmp30
**พร้อมแนบสัญญาเพิ่มเติมกลุ่มโรคร้ายแรง เบี้ยฯรวมขั้นต่ำ 30,000 บาท