สมาร์ตโฟนซินโดรม โรคยอดฮิตของคนติดมือถือ

สมาร์ตโฟนซินโดรม

โรคยอดฮิตของคนติดมือถือ

แกเป็นใคร ! จับฉันมาทำไม ! / ต้องมีอะไรผิดพลาดตรงไหน๊… / ฮื้อ ฮื้อ ฮืออ ขอให้โชคดี นับตั้งแต่นี้ต้องไม่งอแงงง 

ถ้าคุณรู้ทำนองของประโยคเหล่านี้ จนสามารถอ่านออกเสียงตามได้อย่างถูกต้อง ก็แสดงว่าระดับความติดโซเชียลมีเดียของคุณนั้นถือว่าไม่ธรรมดา ! แล้วการติดโซเชียลแบบนี้ส่งผลกระทบอะไรต่อสุขภาพของเราบ้าง มาดูกัน

ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับคำว่า ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการมีลักษณะท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปโดยไม่มีการลุกออกไปทำกิจกรรมอื่น หรือทำงานอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งซ้ำ ๆ ท่าเดิมเป็นเวลานาน 

แต่ในยุคที่สมาร์ตโฟนกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายที่ขาดไม่ได้ ทั้งพูดคุย ทำงาน พักผ่อน เล่นเกม ดูภาพยนตร์ / ซีรีย์ เข้าอินเทอร์เน็ต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเล่นโซเชียลมีเดียที่ถ้าเผลอกดเข้าไปเมื่อไหร่กว่าจะวางโทรศัพท์ได้แต่ละทีช่างยากเย็นเหลือเกิน 

เรียกได้ว่าสมาร์ตโฟนแทบจะอยู่ในเกือบทุกกิจกรรมของเราใน 1 วัน ตั้งแต่เช้าตอนตื่นนอนจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายก่อนนอนหลับเลย ในช่วงเวลาเหล่านี้ใครหลายคนต่างก็ล้วนมีโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนเป็นไอเทมสำคัญที่อยู่กับตัวเสมอ

โดยจากข้อมูลของ สสส. พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยมีอัตราการติดหน้าจอมือถือถึงสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง มากกว่าสถิติโลกในปัจจุบันเสียอีก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรจะเกินสัปดาห์ละ 16 ชั่วโมง

และผลจากการติดสมาร์ตโฟนหรือโทรศัพท์มือถือนี้เองที่ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “สมาร์ตโฟนซินโดรม” ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพมากมายตามมา 

โดยผลกระทบต่อสุขภาพที่ตามมาก็ไม่ได้เกิดขึ้นจาก “ความผิดพลาดตรงไหน๊..” นอกจากการที่อยู่ในท่าก้มศีรษะเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งทำให้กระดูกต้นคอต้องรับแรงกดตลอดเวลา และยิ่งเราก้มมากเท่าไหร่กระดูกต้นคอก็ยิ่งต้องรองรับแรงกดมากขึ้นเท่านั้น โดยหากเราก้มลงในระยะเพียง 30 องศา อาจทำให้เกิดแรงกดสูงถึง 25 กิโลกรัมเลยทีเดียว

ซ้ำร้ายการใช้สมาร์ตโฟนยังไม่ใช่แค่การก้มศีรษะเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีการใช้มือกดหรือยกมือถือขึ้นตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อเอ็น แขน และข้อมือ มีอาการปวดได้ รวมถึงบางรายเองอาจมีอาการมือชาร่วมด้วยจากการกดทับของพังผืดข้อมือ

สำหรับอาการที่เกิดจากโรคสมาร์ตโฟนซินโดรมนี้ก็มีตั้งแต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง ปวดตา ตาแห้ง ตาแดงช้ำ ปวดหัว วิงเวียน ปวดข้อมือและนิ้วมือ ปวดกระดูก คอ บ่า อ่อนเพลีย 

ไปจนถึงกลุ่มอาการที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น โรควุ้นในตาเสื่อม ซึ่งเกิดจากการใช้สายตาเพ่งจอมากเกินไป จนทำให้เห็นภาพเป็นคราบดำ คล้ายหยากไย่ และโรคนิ้วล็อก ซึ่งเป็นอาการเกร็งนิ้วจากการจิ้มหน้าจอเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ ของนิ้วอักเสบ หรือไม่สามารถขยับได้ รวมถึงโรคหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท 

นอกจากนี้การเสพติดมือถือยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายเพียงอย่างเดียว แต่อาจก่อให้เกิดโรคทางจิตเวชร่วมด้วยได้ เช่น โรคโมโนโฟเบีย ซึ่งเกิดจากอาการติดโทรศัพท์มือถืออย่างรุนแรง จนทำให้เกิดภาวะวิตกกังวลเมื่อไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หรือไม่มีโทรศัพท์ใช้ และเกิดอาการเครียด ตัวสั่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้

รวมถึงภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการเสพสื่อโซเชียลมีเดียมากเกินไป จนทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า โดดเดี่ยว หรือหดหู่ เมื่อต้องคอยเปรียบเทียบกับความสำเร็จของผู้อื่นตลอดเวลา   

แม้โดยภาพรวมอาการของโรคสมาร์ตโฟนซินโดรมอาจไม่ใช่อาการที่รุนแรงมาก แต่ถ้ามีอาการแล้วไม่ได้รับการรักษา หรือลดพฤติกรรมการติดมือถือดังกล่าวแล้ว ก็อาจทำให้อาการป่วยเหล่านี้ทรุดหนักลง และพัฒนากลายเป็นอาการป่วยแบบเรื้อรังได้ในที่สุด 

แนวทางการป้องกันอาการสมาร์ตโฟนซินโดรมที่ดี คือควรเริ่มต้นที่การปรับนิสัยและพฤติกรรม ด้วยการสร้างวินัยในการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสมตั้งแต่วันนี้ อย่างการหากิจกรรมอื่น ๆ ทดแทนการนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ เช่น การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย 

หรือหากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็พยายามอยู่ในท่าทางที่ลำคออยู่ในแนวตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ก้มหลัง และไม่ห่อไหล่ 

นอกจากนี้ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ควรวางมือถือ และหยุดพักเป็นระยะเวลา 10-15 นาที เพื่อเป็นการพักสายตา พักคอ พักข้อมือ พร้อมกับบริหารข้อมือเบา ๆ เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ

จบบทความนี้ อย่าลืมรีบวางโทรศัพท์แล้วมาเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสมตั้งแต่วันนี้

ส่วนที่แล้วมาให้ AIA Health Saver ช่วยดูแล เพราะไม่ว่าจะเจ็บป่วยเล็กน้อยแค่ไหนก็อุ่นใจได้กับ AIA Health Saver ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่ครอบคลุมการรักษาทั้งแบบ OPD* และ IPD

สนใจสมัครประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

หมายเหตุ :

- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 

- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

*เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง สูงสุด 30 ครั้ง / รอบปีกรมธรรม์

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

แบบฟอร์มการติดต่อ ถูกใจ 0

วิธีการติดต่อ
สนใจบทความนี้? ติดต่อกลับเพื่อรับคำปรึกษาและใบเสนอราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

ข้อมูลที่จำเป็น
ชื่อเต็มของคุณ
กรุณากรอกข้อมูลชื่อให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
กรุณากรอกข้อมูลนามสกุลให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
ชื่อเต็มของคุณ
กรุณากรอกข้อมูลนามสกุลให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
กรุณากรอกข้อมูลชื่อให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น

ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ
กรุณากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์มือถือให้ครบ 10 หลัก
อีเมล
กรุณากรอกข้อมูลอีเมลให้ถูกต้อง
รหัสประเทศ
กรูณากรอกข้อมุลรหัสประเทศให้ถูกต้อง
กรุณากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ให้ถูกต้อง
กรุณากรอกข้อมูลอีเมลให้ถูกต้อง
จังหวัด

ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เอไอเอ จำกัด และกลุ่มบริษัทเอไอเอ (เอไอเอ) สามารถเก็บใช้ข้อมูลที่ข้าพเจ้าให้ไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ หรือแจ้งสิทธิประโยชน์ แจ้งข้อมูลข่าวสารของเอไอเอ ติดต่อและนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ กรมธรรม์ ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิต การเป็นที่ปรึกษาด้านประกันชีวิตและการเงิน (FA) หรือ AIA Life Advisor และใช้เพื่อประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจของข้าพเจ้าที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลทางการตลาดเพื่อให้เอไอเอปรับปรุง และพัฒนาการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ และข้อมูลทางการตลาด รวมถึงยินยอมให้เอไอเอส่งหรือโอนข้อมูลแก่พันธมิตรทางการค้า/คู่ค้า ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต (ถ้ามี) เพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันข้างต้น
ฉันยืนยันว่าฉันได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ สามารถศึกษานโยบายข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่เว็บไซต์ของเอไอเอตามลิ้งค์ดังต่อไปนี้ www.aia.co.th/privacy และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ร้องขอใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด ได้ที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (DPO) ผ่านเอไอเอคอลเซ็นเตอร์ โทร. 1581 หรืออีเมลมาที่ th.privacy@aia.com หรือติดต่อตามที่อยู่ที่ บริษัท เอไอเอ จำกัด 181 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพ 10500
ส่ง