
หากคุณเป็นคนที่ทุ่มเท เวลาทำอะไรทำเต็มที่ มีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่วแน่ และมีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายตามที่ตั้งใจ เวลาทำงานก็อยากให้งานออกมาดีที่สุด แน่นอนว่าความพยายามและทุ่มเทของคุณนั้นแฝงไปด้วยความตั้งใจที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี
แต่อย่าลืมว่า ชีวิตนี้มีให้คุณใช้ได้เพียงครั้งเดียว หากคุณใช้เวลาทั้งชีวิตหมดไปกับการทุ่มเทเรื่องงานแล้ว เมื่อไหร่กันล่ะ ที่คุณจะได้ใช้ชีวิตอย่างแท้จริง หลังเกษียณตอนอายุ 55 หรือ 60 ปี งั้นหรือ?
การเกษียณก่อนอายุ 55 หรือ 60 ปี หรือที่เราคุ้นเคยกันกับคำว่า Early Retire จึงเป็นความตั้งใจของใครหลาย ๆ คน หากได้เกษียณก่อนสัก 10 ปี หรือตอนที่อายุยังไม่เกิน 45 นั้นคงจะดีไม่น้อย เพราะหากเราดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตัวเราในวัย 45 ปี ก็ยังเป็นวัยที่สามารถออกไปเดินทางท่องโลกกว้าง ใช้ชีวิตแบบที่ชอบได้โดยไม่ทรมานร่างกาย หรือลำบากสุขภาพมากจนเกินไป และคงจะมีความสุขมาก ๆ ที่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในวัยนี้ แบบที่ไม่ต้องกังวลเรื่องงานอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะทุ่มเทให้กับหน้าที่การงานอย่างหนักแค่ไหน การที่จะมีเงินออมให้ใช้อย่างสุขสบายและเพียงพอไปจนถึงวัยชรา โดยที่เกษียณหยุดทำงานตั้งแต่อายุ 45 นั้นต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องอาศัยการวางแผนที่ชัดเจน การมีวินัยทางการเงินที่เคร่งครัด เพื่อสร้างอิสระทางการเงินจนสามารถเกษียณได้ในวัย 45 ปี
ขอลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ถ้าเราอยากมีเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหลังเกษียณ เดือนละ 10,000 บาท หรือ ปีละ 120,000 บาท หากเราเกษียณเมื่ออายุ 45 ปี เราจำเป็นต้องมีเงินออมประมาณ 4.2 ล้านบาท สำหรับการมีชีวิตอยู่ไปจนถึง 80 ปี ซึ่งการคำนวณนี้เป็นเพียงตัวเลขคร่าว ๆ ที่ยังไม่ได้นำตัวแปรอื่น ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน และอื่น ๆ อีกมากมาย มาเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดเป้าหมายเงินออมหลังเกษียณให้กับคนทุกคนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน เพราะแต่ละคนนั้นมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน บางคนไม่ต้องการเงินเยอะ ในขณะที่หลายคนต้องการมีเงินเยอะเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตตามที่ต้องการ
ทำอย่างไร ถึงจะเกษียณได้ก่อนอายุ 45 ปี?

4 เทคนิคต้องรู้ ! สำหรับคนอยากเป็นอิสระทางการเงินก่อนอายุ 45
จดจำไว้เสมอว่าการวางแผนเกษียณ ยิ่งเริ่มเร็ว ยิ่งใช้ต้นทุนน้อย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไหร่ อาจจะเพิ่งเรียนจบ เริ่มต้นทำงานครั้งแรก ก็อย่าได้มองว่าการเกษียณเป็นเรื่องไกลตัว และให้เริ่มเลยตั้งแต่วันนี้ โดยอาจเริ่มต้นจาก 4 ข้อดังต่อไปนี้
1. ออมเงินจากรายได้หลักอย่างมีวินัย มีความสม่ำเสมอ และควรเพิ่มสัดส่วนการออมให้มากขึ้น เมื่อมีรายได้สูงขึ้น
เริ่มจากการตั้งเป้าหมายว่า เราต้องการมีเงินเท่าไหร่หลังเกษียณ เช่น ตั้งแต่อายุ 45 ไปจนถึง 90 ปี (อย่าลืมว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนขึ้นเรื่อย ๆ) เราต้องการมีเงินใช้ปีละกี่บาท แล้วลองดูว่าจากตอนนี้ ไปจนถึงอายุ 45 เรามีเวลาเก็บเงินอีกกี่ปี หลังจากนั้นจึงตั้งเป้าหมายของการเก็บเงินในแต่ละปีให้ได้
หรือแม้แต่น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบ เงินเดือนอาจจะยังไม่มาก ก็ไม่ต้องท้อหรือหมดกำลังใจ เพราะเราสามารถค่อย ๆ ออมเงินอย่างเป็นสัดส่วนได้ เช่น ออมเงิน 20% ของเงินเดือน หากเริ่มต้นทำงานได้เงินเดือน ๆ ละ 15,000 บาท ก็ให้ออมเดือนละ 3,000 บาท เมื่อมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 20,000 บาท ก็ควรออมเงินอย่างน้อย 4,000 บาท
แต่ถ้าจะให้ดี สัดส่วนของการออมควรเพิ่มขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น เช่น หากเริ่มต้นด้วยการออม 20% ของเงินเดือน เมื่อเงินเดือนสูงขึ้น ให้แบ่งเงินไปออมในสัดส่วน 30% และเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น
เพราะหัวใจสำคัญของการออมเงินคือการมีวินัย มีความตั้งใจที่แน่วแน่ และสม่ำเสมอ
2. หารายได้เสริม หรือลงทุนสร้างธุรกิจของตัวเอง
เมื่อไม่นานมานี้ เทรนด์การมีรายได้หลายทางเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันมีไอเดียของการมีรายได้เสริมที่หลากหลาย ทั้งยังมีโลกออนไลน์ที่เปรียบเสมือนประตูบานใหม่ที่เปิดโอกาสในการสร้างรายได้เสริมสำหรับทุกคน
ทำให้ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มีไลฟ์สไตล์แบบไหน ก็สามารถมีโอกาสหารายได้เสริมได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น การทำอาชีพอิสระในเวลาว่าง หรือเปลี่ยนจากสิ่งที่ชอบหรือถนัดให้กลายเป็นรายได้เสริม หากใครชอบทำอาหารหรือขนม ก็อาจเปิดร้านแบบเดลิเวอรีได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนมีหน้าร้าน รับงานเขียน งานออกแบบ รับสอนพิเศษ หรือแม้แต่การทำงานพาร์ทไทม์
หรือหากใครมีอสังหาริมทรัพย์หรือพื้นที่หน้าบ้าน ก็อาจปล่อยให้คนมาเช่าพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยหรือค้าขายต่อได้
การขายของออนไลน์ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะมีช่องทางการขายที่หลากหลาย ใช้ทุนไม่มาก หากแต่มีการแข่งขันสูง ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาการตลาดให้ดี
3. แบ่งเงินไปลงทุน
หลายคนอยากมี Passive Income หรือรายได้แบบที่ให้เงินไปทำงาน ลงทุน 1 ครั้ง และได้รับผลกำไรกลับมาเป็นรายได้อีกทางนอกเหนือจากงานประจำ การลงทุนไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเป็นเรื่องของนักธุรกิจระดับสูงอีกต่อไป แต่การลงทุนเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างไม่ยาก แต่ก็ควรเลือกลงทุนกับสถาบันที่น่าเชื่อถือ และเน้นการลงทุนในระยะยาว และตอบโจทย์กับการลงทุนเพื่อการเกษียณได้มากกว่า
4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเกี่ยวข้องอย่างไรกับการออมเงินเพื่อการเกษียณก่อนกำหนด ที่จริงแล้วข้อนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการออมเงินเพื่อการเกษียณเลยทีเดียว เพราะอย่าลืมว่าโรคภัยไข้เจ็บนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเกษียณอย่างแน่นอน
ด้วยค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นทุกปี อาจทำให้เงินที่เราตั้งใจออมไว้ใช้ยามเกษียณ ต้องแบ่งออกมาเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลก็เป็นได้ ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาร่างกายของเราให้แข็งแรงตลอดเวลานั่นเอง
การเกษียณก่อนอายุ 45 อาจเป็นเป้าหมายที่ดูยาก แต่หากเรามีวินัยและการวางแผนที่ดีนั้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้จริง
เอไอเอ มีตัวช่วยให้คุณมุ่งไปสู่เป้าหมายได้ตามที่ตั้งใจ ด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) พร้อมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ UDR*
จุดเด่นของประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) พร้อมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ UDR ที่จะช่วยสานฝันการเกษียณก่อนอายุ 45 ของคุณให้เป็นจริงได้
● เป็นประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) มีการแบ่งเบี้ยประกันภัยของคุณไปลงทุนในกองทุนรวมที่คัดสรรโดยเอไอเอ
● หากคุณมีความรู้ด้านการลงทุน และอยากที่จะบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเอง ก็สามารถทำได้เช่นกัน
● การลงทุนผ่านประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) เป็นการลงทุนระยะยาว เหมาะที่จะเป็นการลงทุนเพื่อการเกษียณ
● กองทุนที่เอไอเอคัดสรรมานั้น สามารถลงทุนผ่านการทำประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) ทำให้ความผันผวนต่ำกว่าการลงทุนในกองทุนหุ้นทั่วไป เพราะลดโอกาสของการช้อนซื้อที่จะทำให้มูลค่ากองทุนมีความผันผวน
● มีโบนัสยามเกษียณ เมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป**
● สามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแบบ UDR ที่คุ้มครองสุขภาพ ให้คุณได้รับการรักษาที่ดีที่สุดในยามเจ็บป่วย โดยไม่กระทบเงินออมที่คุณตั้งใจเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ
สนใจให้นักวางแผนทางการเงิน AIA Premier Advisor ช่วยวางแผนการเกษียณให้คุณ เพื่อให้คุณไปถึงเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ กดติดต่อกลับ และกรอกแบบฟอร์ม แล้วรอการติดต่อกลับได้เลย
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น
ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย
และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- การทําประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยควรทําความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงศึกษา อ่าน และทําความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขาย และหนังสือชี้ชวนของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
คำเตือน :
• การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
กองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ (aia.co.th)
• ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
• การทำประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงศึกษา อ่าน และทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายและหนังสือชี้ชวนของกองทุนก่อนตัดสินใจทำประกันภัยและลงทุน
*สัญญาเพิ่มเติม UDR คือ สัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการขายคืนหน่วยลงทุน
**บริษัทจะจ่ายโบนัสพิเศษยามเกษียณเมื่อเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 55 ปี ขึ้นไป ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย และ
- กรมธรรม์มีผลบังคับอย่างน้อย 10 ปีกรมธรรม์ และ
- มีการชำระเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปี
(รายปีครบ 10 งวด ราย 6 เดือนครบ 20 งวด ราย 3 เดือนครบ 40 งวด หรือรายเดือนครบ 120 งวด)
บริษัทจะจ่ายโบนัสพิเศษยามเกษียณเป็นอัตราร้อยละ 0.45 ต่อปี ซึ่งคำนวณจากมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง โดยบริษัทจะจ่ายโบนัสเป็นรายเดือนภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนด