
ง่วงบ่อย ง่วงไม่พัก ง่วงตลอดเวลา อย่าคิดว่าไม่เป็นอะไร!
การที่ง่วงนอนตลอดเวลาทั้งที่นอนเยอะ หรือมีอาการหาวบ่อย หาวถี่ ๆ นั้น จริง ๆ แล้วร่างกายอาจพยายามบอกสัญญาณของโรคเหล่านี้อยู่ก็เป็นได้
โรคนอนไม่หลับ
ข้อสันนิษฐานแรกอาจเดาว่าอาการหาวบ่อย ๆ เป็นเพราะอาการนอนไม่หลับ ควรสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตัวเองร่วมด้วย ว่าเรานอนไม่หลับจริงไหม เช่น มักจะสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตอนกลางวัน นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะอาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย เพิ่มโอกาสการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า และยังสามารถเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และอาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้อีกด้วย
โรคเบาหวาน
อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนบ่อย ๆ เป็นสัญญาณแรก ๆ ที่เตือนให้ร่างกายทราบว่ากำลังอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวานได้ในอนาคตอันใกล้ได้ โดยหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ เหนื่อยง่าย หิวน้ำบ่อยขึ้น ทานอาหารเยอะแต่น้ำหนักตัวกลับลดฮวบฮาบ การมองเห็นพร่ามัว แผลหายช้า หรือมีอาการชาที่ปลายมือและเท้า ควรรีบปรึกษาแพทย์
โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
เกิดจากความผิดปกติของกลไกในร่างกาย ซึ่งยังหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่ที่เห็นชัดคือผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังจะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อีกทั้งมักจะมีอาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ทำให้ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น และง่วงในช่วงกลางวันจนต้องหาวบ่อย ๆ
โรคโลหิตจาง
คนที่มีภาวะโลหิตจาง หรือในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ ก็อาจรู้สึกง่วงนอนบ่อย ๆ ได้ เนื่องจากภาวะที่ร่างกายมีระบบไหลเวียนเลือดไม่สมบูรณ์อาจนำมาซึ่งอาการอ่อนเพลีย และทำให้รู้สึกอยากนอนหลับพักผ่อนมากกว่าปกติ
โรคไทรอยด์
โรคไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย หรือมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ก็อาจทำให้ร่างกายแสดงอาการของโรคมาในรูปแบบอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนผิดปกติได้
โรคเครียด
อาการนอนไม่หลับก็อาจเป็นสัญญาณของโรคเครียดได้ เนื่องจากความเครียดจะส่งผลกระทบมาถึงระบบฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และส่งผลต่อมายังระบบการทำงานอื่น ๆ ในตัวของเรา เป็นที่มาของอาการนอนไม่หลับ และทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย
โรคนอนกรน
โรคนี้กระทบกับสุขภาพการนอนหลับของร่างกายอย่างมาก เพราะคนที่นอนกรนมักจะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่สนิทนั่นเอง ดังนั้นจึงมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ
โรคเหล่านี้ หากปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาวตามมาได้ นอกจากนี้การหาวบ่อยจนผิดปกติก็อาจบ่งชี้ถึงการเกิดจากโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นได้อีกด้วย เช่น ภาวะเลือดออกบริเวณในหรือรอบ ๆ หัวใจ โรคหัวใจ โรคมะเร็งสมอง การมีก้อนเนื้อในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคปลอกประสาทอักเสบ ภาวะตับวาย เป็นต้น
รู้แบบนี้แล้ว คุณยังคิดว่าอาการง่วงนอนตอนกลางวันบ่อย ๆ เป็นเรื่องเล็ก ๆ ไม่น่าจะเป็นอะไรอยู่อีกหรือไม่?!
หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยที่ทำให้เบาใจเรื่องสุขภาพ ในราคาเบา ๆ แต่ความคุ้มครองครอบคลุมไม่เบา
นี่เลย! AIA Health Saver ประกันสุขภาพที่ช่วยเซฟเบี้ยฯ แต่ให้ความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่าย1 คุ้มค่า เพราะเบี้ยฯ เริ่มต้นแค่เดือนละ 575 บาท2 คุ้มครองเพิ่มเป็น 2 เท่า3 สำหรับ 6 โรคร้ายแรง4 ยอดฮิต เหมาะที่จะซื้อเพื่อเพิ่มความคุ้มครองจากสวัสดิการ 5 ที่มี
นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) สำหรับลูกค้าเอไอเอที่มีความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD)* อยู่ที่ไหนก็พบแพทย์ได้ เคลมประกันได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย พร้อมมีบริการส่งยาให้ถึงบ้าน**
อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกด้านล่างเพื่อติดต่อตัวแทน AIA เลย
1 ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์
2 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 - 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท
3 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 - 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 - 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
4 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
5 สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลประกันกลุ่มของนายจ้าง และ/หรือสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาล (ถ้ามี) และ/หรือประกันสังคม (ถ้ามี) และ/หรือประกันสุขภาพส่วนตัวที่มีอยู่ (ถ้ามี) เป็นต้น
*เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
**เอไอเอไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่งต่าง ๆ เช่น การเดินทางของบุคลากรทางการแพทย์และการจัดส่งยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมการแพทย์