
ไขมันพอกตับ
ภัยเงียบที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว
“ไขมันพอกตับ” ชื่อของภาวะอาการนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวเราเหลือเกิน เพราะหลายคนยังคิดว่าถ้าไม่ได้โชคร้ายเกินไป หรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สุดเหวี่ยงเสียจนเกินไปนัก ก็คงไม่มีทางที่ภาวะไขมันพอกตับจะเกิดขึ้นกับตัวเราเป็นแน่ แต่ความจริงแล้วภาวะนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ใกล้ตัวเรากว่ามากกว่าคุณที่คิด
“ภาวะไขมันพอกตับ” เป็นชื่อเรียกรวมของภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตับ ซึ่งอาจนำไปสู่ “ภาวะตับวาย” และ “โรคมะเร็งตับ” ในท้ายที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตาม
จากข้อมูลของ สสส. พบว่าปัจจุบันภาวะไขมันพอกตับเป็นโรคตับเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะอ้วนลงพุงของคนไทย ทั้งยังสามารถพบได้ตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่
โดยเฉพาะในวัยเด็กที่พบอัตราการเกิดภาวะไขมันพอกตับเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 2 เท่า จากเดิมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5 ในกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และจากเดิมที่ร้อยละ 38 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48 ในกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์
ส่วนสาเหตุของภาวะไขมันพอกตับนั้นก็อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เนื่องจากภาวะนี้เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สุดแสนจะธรรมดาของเรา ๆ อย่าง การรับประทานอาหารที่มากเกินไป หรือการไม่ออกกำลังกาย จนทำให้ไขมันส่วนเกินไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ “ตับ”
โดยจากผลการศึกษาพบว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นไขมันพอกตับ เกิดภาวะนี้ขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ จนทำให้ภาวะนี้เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

ภาวะไขมันพอกตับเป็นการสะสมของไขมันในรูปของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ ซึ่งในระยะแรกโดยทั่วไปจะไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดแน่น เจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาเนื่องจากขนาดของตับที่โตขึ้น รวมถึงมีอาการเบื่ออาหาร ท้องผูกหรือท้องเสีย อาหารไม่ย่อย และอาจผอมลงโดยที่ไม่ได้ลดอาหาร
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วภาวะไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
● ระยะที่ 1 มีไขมันสะสมในเซลล์ตับ แต่ไม่มีการอักเสบของตับ จึงไม่มีอาการแม้จะติดตามอาการเป็นระยะเวลานาน
● ระยะที่ 2 มีไขมันสะสมในเซลล์ตับ และเริ่มมีการอักเสบของตับ อาจมีอาการร่วมที่ไม่หนัก แต่หากไม่ได้มีการรักษาอาจส่งผลให้เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้
● ระยะที่ 3 เกิดการอักเสบของตับอย่างต่อเนื่อง มีอาการบวมโตของเซลล์ตับ ซึ่งสามารถคลำพบได้ เซลล์จะค่อย ๆ ถูกทำลายลง และกลายเป็นพังผืด
● ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก และมีพังผืดสะสมในตับ มีความรุนแรงจนส่งผลให้ตับทำงานไม่ปกติ สามารถทำให้เกิดเป็นภาวะตับแข็ง และนำไปสู่โรคมะเร็งตับได้
หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ภาวะไขมันพอกตับจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง และอาจลุกลามเป็นโรคมะเร็งตับ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตตนเอง ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ซึ่งหากพบอาการตามที่กล่าวมานั้น ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด
แต่ในเรื่องร้าย ๆ ก็ยังมีเรื่องดีอยู่เสมอ เพราะการรักษาภาวะไขมันพอกตับนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเท่านั้นเอง โดยเริ่มจากการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น นม เนย กะทิ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงรักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งก็จะทำให้ช่วยสลายไขมันจากตับได้ดีขึ้นนั่นเอง
มาร่วมปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมไปกับ AIA Vitality ประกันที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ กับภารกิจหลากหลายที่จะช่วยให้คุณห่างไกลภาวะไขมันพอกตับและโรคร้ายต่าง ๆ พร้อมจูงใจด้วยสิทธิประโยชน์จากพาร์ทเนอร์ชั้นนำของ เอไอเอ ทั้งส่วนลดเบี้ยประกันภัย และ/หรือเงินคืนค่าการประกันภัย สูงสุดถึง 25% ตั๋วชมภาพยนตร์ ส่วนลดที่พัก และอีกมากมาย
เพียงเข้าร่วมภารกิจเพื่อสุขภาพเหล่านี้ ก็มีสิทธิรับคะแนนสะสม AIA Vitality ทันที
● เดิน 4 กิโลเมตร รับ 100 คะแนน
● วิ่ง 5 กิโลเมตร รับ 150 คะแนน
● ปั่นจักรยาน 15 กิโลเมตร รับ 150 คะแนน
● ว่ายน้ำ 0.6 กิโลเมตร รับ 150 คะแนน
● งดของหวาน 7 วัน รับ 50 คะแนน
● ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 30 วัน รับ 50 คะแนน
สนใจสมัคร AIA Vitality กดติดต่อกลับ เพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- สิทธิประโยชน์ของสมาชิกเอไอเอ ไวทัลลิตี้ เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของเอไอเอ ซึ่งเอไอเอขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ โดยท่านสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่แอปพลิเคชัน AIA+ หรือเว็บไซต์ www.aia.co.th/th/health-wellness/vitality/rewards
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)