
5 โรคยอดฮิตที่ต้องระวังในหน้าฝน
หน้าฝนเป็นฤดูกาลที่สภาพอากาศแปรปรวนค่อนข้างมาก ทั้งอากาศที่เย็นขึ้น ระดับความชื้นที่สูงขึ้น ลมที่พัดแรง ฯลฯ จึงทำให้เชื้อโรคที่ปะปนมากับละอองฝนสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดในช่วงหน้าฝนนี้ เรามาดูกันว่า 5 โรคยอดฮิตที่คุณควรระวังในหน้าฝนนี้มีอะไรกันบ้าง รวมถึงมีวิธีป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยได้อย่างไร

1. โรคไข้หวัด
โรคไข้หวัดกับหน้าฝนเรียกว่าเป็นของคู่กันเลยก็ว่าได้ ซึ่งโรคไข้หวัดมีหลายประเภทและหลายสายพันธุ์ด้วยกัน โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ซึ่งอาการที่แสดงออกมา เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร โดยกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดในการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ก็คือเด็กเล็ก ที่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงร่วมด้วย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงผู้สูงวัยที่ภูมิคุ้มกันลดลง จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด มีผู้คนพลุกพล่าน หลีกเลี่ยงการตากฝน และการเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคไข้หวัด อีกทั้งยังควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อป้องกันภูมิคุ้มกันตกนั่นเอง
2. โรคต่อมทอนซิลอักเสบ
โรคต่อมทอนซิลอักเสบเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตในช่วงหน้าฝน สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอากาศ การสัมผัสกับเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งของต่าง ๆ รอบตัว แล้วเชื้ออาจเข้าสู่รางกายผ่านทางปากหรือจมูกได้ รวมไปถึงการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำจากภาชนะเดียวกันกับผู้ที่เป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบ หากเป็นแล้วต่อมทอนซิลจะบวม แดง กดแล้วเจ็บ ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม โต เจ็บคอเวลากลืนอาหาร ปวดร้าวไปถึงหู เป็นไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เสียงเปลี่ยน
วิธีป้องกันโรคต่อมทอนซิลอักเสบ เช่น หลีกเลี่ยงการตากฝน พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ รักษาความสะอาดในช่องปาก ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
3. โรคไข้เลือดออก
หน้าฝนเป็นช่วงที่มีการระบาดของยุงลายมากที่สุด และอย่างที่ทราบกันดีว่ายุงลายเป็นพาหะในการแพร่เชื้อไข้เลือดออก ซึ่งยุงลายจะวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำขัง รวมไปถึงพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอันเนื่องมาจากฝนตกด้วย โดยอาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในระยะแรกจะมีไข้สูง และไข้จะสูงอยู่ประมาณ 2-7 วัน จากนั้นไข้จะลดลง พร้อมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกระดูก และมีจุดขึ้นตามร่างกาย
วิธีป้องกันที่ดี คือ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วยการทำความสะอาดบ้าน ไม่ให้มีน้ำขังตามภาชนะต่าง ๆ ไม่เดินลุยน้ำท่วมขัง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มืดเพื่อป้องกันการโดนยุงกัด
4. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ไม่ได้ระบาดหนักแค่ช่วงหน้าร้อนเท่านั้น แต่หน้าฝนก็เกิดการระบาดไม่แพ้กัน โดยสาเหตุของโรคเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีการปะปนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต รวมไปถึง การใช้มือที่ไม่สะอาดหยิบจับอาหารรับประทาน หากเป็นแล้วจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีมูกเลือดปน มีไข้ อ่อนเพลีย
วิธีป้องกันที่ดี คือ ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ผ่านกรรมวิธีการทำที่สะอาด ใช้ช้อนกลาง ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
5. โรคเยื่อบุตาอักเสบ
โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง อีกหนึ่งโรคยอดฮิตในช่วงหน้าฝน ด้วยสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง ละอองฝนที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกลอยในอากาศ จึงทำให้อาจกระเด็นเข้าตา และเชื้อไวรัสแพร่กระจายเข้าสู่ดวงตาได้ง่าย จนทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตา ตาแดง บวม คัน เคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตา นั่นเอง
โรคเยื่อบุตาอักเสบนับว่าเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็วมาก สามารถติดกันได้ผ่านการสัมผัสขี้ตาหรือน้ำตาของคนที่เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อกันได้ผ่านการไอ จาม การใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ เช่น ผ้าเช็ดตัว เครื่องสำอาง
การป้องกันโรคนี้ได้ดีที่สุด คือ การไม่เข้าใกล้ผู้ที่ติดเชื้อ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน หลีกเลี่ยงการตากฝน ไม่ขยี้ตาบ่อย ๆ ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ใส่แว่นกันแดด เป็นต้น
แม้ว่าเราจะป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว แต่เราก็ไม่สามารถคาดการณ์หรือหลีกหนีความเจ็บป่วยได้ ดังนั้นการทำประกันสุขภาพจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะเจ็บป่วยในฤดูไหนก็อุ่นใจได้ว่าจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที
เพราะ AIA อยากให้ทุกคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ล่าสุดจึงได้ออก “สัญญาเพิ่มเติม เอไอเอ เฮลธ์ เซฟเวอร์ (AIA Health Saver)” ประกันสุขภาพตัวใหม่ที่ให้ความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายในราคาที่สบายกระเป๋าขึ้น กับ 4 แผนประกันที่ให้คุณเลือกได้ตามงบประมาณ ความคุ้มครองเริ่มตั้งแต่ 200,000 บาท ไปจนถึง 500,000 บาท เหมาะกับคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพตัวเสริมเพื่อมาเพิ่มความอุ่นใจ และอยากได้วงเงิน OPD ในค่าเบี้ยฯ ที่ย่อมเยา
● จุดเด่นของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย AIA Health Saver เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 500,000 บาท 1
● เพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า 2 เมื่อตรวจพบ 6 โรคร้ายแรงยอดฮิต3 รวม 4 ปีกรมธรรม์
● เบี้ยฯ เริ่มต้นเพียงเดือนละ 575 บาท4
● คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) 5 สูงสุดถึง 30 ครั้ง ต่อรอบปีกรมธรรม์ 6
● ดูแลและให้ความคุ้มครองคุณอย่างยาวนานและต่อเนื่อง สูงสุดถึงอายุ 99 ปี
สนใจประกันสุขภาพ AIA Health Saver กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
1 ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์
2 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 - 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 - 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
3 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
4 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 - 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท
5 เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
6 เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์