
อ่านหนังสือนิทาน พ่อแม่อ่านให้ฟัง VS เปิดผ่านจอให้ดู แบบไหนดีต่อลูกนะ
หนังสือนิทาน ถือเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการเปิดจินตนาการอันไม่รู้จบให้กับลูกน้อย ทั้งยังเพิ่มคลังคำศัพท์และเปิดโลกแห่งภาษา ช่วยให้ลูกของคุณมีพัฒนาการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการอ่านหนังสือนิทานนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มอ่านได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ของแม่ เพื่อให้กระตุ้นการได้ยินและเกิดความคุ้นเคยกับเสียงของพ่อแม่ได้ด้วย
จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยตลอด 5 ปี ที่ผ่านมามีแนวโน้มพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2566 พบเด็กมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าด้านการเข้าใจภาษา (Receptive language) สูงถึงร้อยละ 60.9 และพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าด้านการใช้ภาษา (Expressive language) สูงถึงร้อย 74.8 ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จึงต้องเป็นบุคคลที่รับบทบาทสำคัญที่สุดเพื่อจะสร้างเสริมเชาว์ปัญญาของเด็กตั้งแต่เด็กเล็ก โดยใช้นิทานเป็นสื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ

ความแตกต่างระหว่าง อ่านนิทานให้ลูกฟัง VS เปิดนิทานผ่านจอให้ลูกดู
อ่านนิทานให้ลูกฟัง: ภาพในหนังสือนิทานจะหยุดนิ่ง มีเวลาให้ลูกเก็บรายละเอียด สร้างจินตนาการและเชื่อมโยงความคิด คุณพ่อคุณแม่และลูกสามารถกำหนดจังหวะการพลิกหนังสือให้สอดคล้องตามการรับรู้ของลูกได้ ซึ่งตรงนี้จะทำให้สมองจับสัญญาณและจดจำได้ว่าเนื้อหาที่อ่านมาแล้วอยู่ช่วงใด อยู่บทใด หน้าใด ย่อหน้าใด รวมถึงลูกได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทาน อย่างการถามความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือขอให้พ่อแม่ เล่าบางส่วนซ้ำ เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างกัน
เปิดนิทานผ่านจอให้ลูกดู: ในขณะที่การท่องโลกกว้างแบบที่ใช้แค่ปลายนิ้วจิ้มและภาพทุกอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ลูกมีสมาธิสั้น ก้าวร้าวและมีพฤติกรรมออทิสติก เพราะขาดการปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงขาดทักษะด้านอื่น ๆ หรือพัฒนาการล่าช้า เนื่องจากภาพในจอมีครบทั้งภาพและเสียง ทำให้ลูกไม่ได้ฝึกจินตนาการเองและไม่สนใจที่จะทำกิจกรรมอื่น เมื่อร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ก็อาจเสี่ยงเป็นโรคอ้วนตามมา
การอ่านนิทาน = การผจญภัย
1. การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปกับพ่อแม่: เป็น Golden Moment ที่ลูกของคุณจะเริ่มสร้างจินตนาการว่าตัวละครในหนังสือมีอยู่จริง ซึ่งการอ่านนิทานก่อนนอนในช่วงเวลาเดียวกันในทุก ๆ วัน จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝังวินัยการตรงต่อเวลาอีกด้วย
2. การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปในสมอง: ทุกครั้งที่เด็กได้ฟังนิทานหรือได้อ่านด้วยตัวเอง เซลล์ประสาทจะแตกแขนงออกมาเป็นร่างแหของเส้นประสาท ดังนั้นใน 2 ขวบปีแรก สมองของเด็กจึงเปลี่ยนแปลงทุกวัน แม้ว่าหนังสือจะเป็นเล่มเดิม แต่การคิด การตีความ หรือการวาดภาพในสมองของเด็กจะต่างกันออกไป
3.การอ่านนิทานเป็นการผจญภัยไปในจิตใต้สำนึก: เพราะหนังสือนิทานมีหลากหลายเรื่องราว มีทั้งด้านดี สมหวัง สนุกสนาน สดชื่น แจ่มใส และบางเรื่องก็อาจแฝงด้านมืดมาเป็นข้อคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อย่ากลัวที่จะหยิบยื่นเรื่องราวที่หลากหลาย เพราะการที่เด็กได้ฟังหรืออ่านนิทานเหล่านี้ก็เหมือนกับการระบายความรู้สึกในใจออกมา และยังให้แง่คิดในหลากหลายมุมที่จะเป็นส่วนหนึ่งให้เด็กซึมซับและเรียนรู้
นอกจากการอ่านนิทานให้ลูกฟัง การใส่ใจเรื่องการทานอาหารให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ และได้ออกกำลังกาย สามารถช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคตได้ ดังนั้น มาเสริมสร้างความปลอดภัย ด้วยประกันที่จะช่วยดูแลเจ้าตัวเล็กเคียงข้างคุณพ่อคุณแม่
AIA Health Happy Kids ประกันสุขภาพสำหรับเด็กที่คิดมาแล้วเพื่อทุกบ้าน
- หมดห่วงค่ารักษาพยาบาล แม้ลูกจะป่วยหนัก ด้วยวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย*
- เบิ้ลความคุ้มครอง 2 เท่า รวม 4 ปีกรมธรรม์ เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรง**
- ความรับผิดส่วนแรกต่อรอบปีกรมธรรม์ แนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีสวัสดิการบุตร และต้องการค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติม
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน - 10 ปีบริบูรณ์
สนใจทำประกัน AIA Health Happy Kids กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
* ผลประโยชน์เหมาจ่ายบางรายการ
**โรคร้ายแรง หมายถึง โรคร้ายแรงตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้บันทึกสลักหลัง ผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง มีดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน, การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ, โรคมะเร็งระยะลุกลาม, การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
หมายเหตุ
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)