
พ่อแม่ทุกครอบครัวต่างคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกรัก โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อลูกในอนาคต ถ้ามีการศึกษาที่ดีก็เชื่อได้ว่า ลูกก็จะนำตัวเองไปสู่โอกาสในการมีชีวิตที่ดีและมีความมั่นคง ซึ่งโรงเรียนนานาชาติจึงเป็นทางเลือกที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนกำลังมองหา ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนเตรียมตัวกันพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องเงิน เพื่อให้พร้อมสำหรับการส่งลูกเข้าเรียน
ค่าใช้จ่ายในโรงเรียนอินเตอร์ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ
1. ค่าเล่าเรียน เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เราต้องพิจารณาให้เหมาะสมตามความสามารถในการเก็บเงินส่งลูกเรียนของแต่ละครอบครัว ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองตั้งงบประมาณที่มีคร่าว ๆ ก่อนว่าค่าใช้จ่ายต่อปีจะประมาณเท่าไหร่
2. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าแรกเข้า ค่าหนังสือ ค่าเสื้อผ้า ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเรียนพิเศษ ค่าบำรุงการศึกษา เป็นต้น ควรแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นส่วน ๆ รวมถึง เผื่อเงินสำรองฉุกเฉินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงด้วย
เมื่อเราได้ข้อมูลในการวางแผนค่าเรียนลูกทั้งเรื่องของค่าเทอม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยประมาณแล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่เป็นค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ควรประเมินเผื่ออัตราเงินเฟ้อเข้าไปอีกประมาณ 3-5 % ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น

เตรียมตัวให้ดี วางแผนให้พร้อมส่งลูกเขาเรียน
โรงเรียนอินเตอร์ในประเทศไทยปัจจุบันมีจำนวนมากมายหลายโรงเรียนและค่าใช้จ่ายก็ค่อนข้างสูง คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวหรือวางแผนให้รอบคอบ โดยสามารถเก็บเงินและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- หลักสูตรของแต่ละโรงเรียนอยู่ในระบบไหน เนื่องจากโรงเรียนอินเตอร์ในประเทศไทยมีหลักสูตรการเรียนการสอนค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส ฯลฯ
- เปรียบเทียบค่าเทอมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าสมัครเรียน ค่าแรกเข้า และเงินค้ำประกันต่าง ๆ เป็นต้น
- สวัสดิการการรักษาความปลอดภัยภายในโรงเรียน เนื่องจากเด็กเล็กเป็นวัยที่มีความซุกซน เรื่องอุบัติเหตุจึงเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจทำประกันภัย และประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติม
- วางแผนการออมและลงทุน แบ่งออมเงินเป็นก้อนๆ ตามระยะเวลาการใช้เงิน หรือออมในกองทุน หุ้น และควรมีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
- เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน เช่น ความพร้อมทางด้านภาษา แต่หากลูกเรามีความสามารถในด้านภาษาระดับหนึ่ง เมื่อได้รับเลือกเข้าเรียนแล้วจะได้ไม่ต้องถูกบังคับให้ลงคอร์สภาษาเพิ่ม
กรณีตัวอย่าง คุณพ่อคุณแม่ อายุ 30 ปี มีลูก 1 คน อายุ 1 ขวบ ซึ่งลูกจะเข้าเรียน ป.1 เมื่อลูกอายุ 7 ปี ทั้งคู่วางแผนจะให้ลูกเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนนานาชาติ ค่าเทอมปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 300,000 บาท รวมค่าเทอมทั้งหมด 6 ปี ประมาณ 2,735,000 บาท (โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อสำหรับการศึกษาอยู่ที่ประมาณปีละ 5%)
การวางแผนเรื่องการศึกษาของลูกเป็นเรื่องที่ไม่สามารถย้อนกลับมาเริ่มวางแผนใหม่ได้ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณก็ควรใส่ใจและพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบและรอบด้านที่สุด ดังนั้น การทำประกันชีวิตควบการลงทุน ก็จะช่วยส่งต่อทุนและให้ลูกได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ
AIA Infinite Gift Prestige (Unit Linked) วางแผนทางการเงินที่มั่นคง ไว้เป็นเงินเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ เงินทุนเริ่มต้นธุรกิจ หรือเป็นเงินสะสมเพื่อส่งต่อความมั่งคั่ง
- อายุรับประกัน 1 เดือน – 17 ปี
- เพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นจากการลงทุนในกองทุนรวมที่บริหารโดยบลจ. ที่เอไอเอคัดสรรมา
- เลือกระยะเวลาการชำระเบี้ยฯ ได้ตามความต้องการ ทั้งแบบ 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี
สนใจทำประกัน AIA Infinite Gift Prestige (Unit Linked) กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
หมายเหตุ
- เอไอเอ อินฟินิท กิฟท์ เพรสทีจ (ยูนิต ลิงค์) เป็นชื่อทางการตลาดของ เอไอเอ อินฟินิท เวลท์ (ยูนิต ลิงค์)
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้วโปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์
- การทำประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงศึกษา อ่าน และทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายและหนังสือชี้ชวนของกองทุน ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยและลงทุน ซึ่งผู้ขอเอาประกันภัยอาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัย ที่ถูกจัดสรรเข้ากองทุนรวม โดยหากผลการดำเนินงานของกองทุนรวมมีกำไร ผู้ขอเอาประกันภัยจะได้รับผลตอบแทนสูง แต่หากผลการดำเนินงานของกองทุนรวมขาดทุน ผู้ขอเอาประกันภัยจะได้ผลตอบแทนต่ำหรือบางกรณีอาจขาดทุน กล่าวคือ ไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน ทั้งนี้ กรมธรรม์นี้ไม่มีการรับประกันเงินส่วนของเงินลงทุน นอกจากนี้ กรณียกเลิก/เวนคืนกรมธรรม์ ก่อนครบกำหนด ผู้ขอเอาประกันภัยอาจจะได้รับเงินคืนเป็นจำนวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปแล้วอีกด้วย
- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
รวบรวมข้อมูลโดย เอไอเอ ประเทศไทย ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2567