
“Loud Budgeting” คือเทรนด์ที่แข่งกันอวดความประหยัด รวมถึงการปฏิเสธการทำกิจกรรมที่ต้องเสียเงิน เช่น การสังสรรค์กับเพื่อน ไปชอปปิง หรือซื้อของฟุ่มเฟือยต่าง ๆ เพราะต้องเก็บเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่จำเป็น และกล้าบอกกับคนอื่น ๆ ตรง ๆ ว่าสถานะทางการเงินเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจไม่ทำกิจกรรมที่ต้องใช้เงินฟุ่มเฟือย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งหลายคนก็ยังยึดติดอยู่กับ "วัตถุนิยม" ที่เมื่อเห็นคนดังหรือคนใกล้ตัวมีของใช้แบรนด์หรู "ก็อยากจะมีบ้าง" หลายคนกัดฟันเก็บเงิน ยอมทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อให้มีเงินไปซื้อสินค้าราคาแพง เพราะคำว่า "ของมันต้องมี"
การใช้ชีวิตในสไตล์ Loud Budgeting จึงเป็นการใช้เงินรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์เพื่อใช้เงินไปกับสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่ง Tiktoker ชาวอเมริกัน Lukas Battle คือคนแรกที่ออกมาตะโกนให้โลกรู้ว่า "เราไม่จำเป็นต้องซื้อของราคาแพงตามเทรนด์อยู่ตลอดเวลาก็ได้"
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราใช้เงินเพิ่ม?
ทุกวันนี้ราคาสินค้าหลายอย่างมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีวันลดลง แต่ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อีกทั้งการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ทำให้มีโอกาสซื้อสินค้าเกินงบ เพราะเห็นของอะไรน่าซื้อ น่าใช้ ก็กดซื้อไปเรื่อย โดยขาดการยับยั้งช่างใจ และปัจจัยที่กระตุ้นให้ซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ก็เกิดมาจาก พฤติกรรมการซื้อของของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงวิกฤตโรคระบาด “ โควิด-19 ” ทำให้ผู้คนในช่วงนั้นออกไปไหนไม่ได้ และหันมาซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
อยากตะโกนตามเทรนด์ Loud Budgeting บ้าง
· แยกให้ได้ว่า Needs หรือ Wants หลักพื้นฐานการเงินเบื้องต้นคือต้องแยกให้ได้ระหว่าง Needs (สิ่งจำเป็น) และ Wants (สิ่งที่ต้องการ) โดยใช้กฎ 48 ชั่วโมง ที่เราจะไม่ซื้อของเลยทันทีที่อยากได้ แต่จะทิ้งเวลาไปอีก 48 ชั่วโมง หรือประมาณ 2 วัน ถ้าผ่านมาแล้ว 48 ชั่วโมง เรายังอยากได้และเล็งเห็นความจำเป็นของสิ่ง ๆ นั้นอยู่ ก็ค่อยตัดสินใจซื้อ แต่ถ้าเห็นว่า "ไม่มีก็ได้" ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย
· กล้าปฏิเสธ หากสิ่งนั้นไม่จำเป็นกับชีวิตคุณ บอกเพื่อนแบบตรง ๆ ไปเลยว่า งบการใช้เงินของคุณในแต่ละเดือนมีเท่าไหร่แล้วก็กล้าปฏิเสธไม่ร่วมกิจกรรมที่คิดว่าทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น หรือสำหรับบางคนที่อาจรู้สึกไม่ดีหากจะต้องปฏิเสธการไปปาร์ตี้กับเพื่อน ๆ ตามลำพัง ลองหาคนที่มีอุดมการณ์คล้าย ๆ กัน และจับกลุ่มช่วยกันหาวิธีประหยัดเงินก็ช่วยได้นะ
· ค่อย ๆ เปลี่ยนนิสัยทีละน้อย นิสัยทางการเงินของคุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืน แต่สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนได้ และสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ เช่น หันมาชงกาแฟดื่มเองแทนที่จะไปซื้อในร้านกาแฟ
· กล้าที่จะตะโกน จำไว้ว่า การพูดคำว่า "ไม่มีเงิน" ไม่ใช่คำที่น่าอายอะไรเลย แต่กลับเป็นความจริงใจในการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงการจัดลำดับความสำคัญของสถานะทางการใช้เงินของคุณเอง
Loud Budgeting มีประโยชน์อย่างไร?
· เพิ่มเงินออม การพูดคุยเรื่องงบการใช้จ่ายกับเพื่อนหรือคนรอบข้าง จะช่วยให้คุณระลึกถึงงบของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
· หลุดพ้นจากค่านิยม "ของมันต้องมี" เมื่อคุณจัดลำดับความสำคัญทางการเงินได้ คุณจะมีโอกาสน้อยลงที่จะยอมจำนนต่อกิเลสกับสิ่งของที่ไม่จำเป็นกับตัวเอง
· กระชับความสัมพันธ์ การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับเรื่องเงิน จะสามารถปรับปรุงความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวให้ดีขึ้น
· สร้างความมั่นใจ ถ้าสามารถเอาชนะกิเลสในความอยากได้ ควบคุมงบการเงินให้สำเร็จได้ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความมั่นใจให้ตัวคุณอย่างแน่นอน
เห็นมั้ย! วิธีง่าย ๆ แค่นี้ ก็ช่วยให้เรามีเงินออมเพิ่มขึ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ตอบโจทย์คนที่ต้องการจะมีเงินเก็บได้ดีสุด ๆ ยิ่งถ้ามี “AIA Saving Sure” ประกันสะสมทรัพย์ ยิ่งอยู่นาน ยิ่งได้มาก..ชัวร์ ก็จะยิ่งทำให้คุณได้ออมเงินในรูปแบบประกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อมีทุนสำรองไว้ใช้แบบยาว ๆ

AIA Saving Sure 10/99 (Non Par)
· ส่งเบี้ยฯ เพียง 10 ปี ไม่ต้องกลัวจ่ายไม่ไหว
· รับเงินคืนรายปีแบบชัวร์ๆ ตั้งแต่อายุ 60 - 98 ปี หากมีชีวิตอยู่
· พิเศษกับเงินคืนแบบขั้นบันได 12-26% ยิ่งอยู่นานยิ่งได้มาก
· รับผลประโยชน์รวมสูงสุด 820%* ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
· คุ้มครองถึง 99 ปี สามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมได้
· ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท**
สนใจสมัคร AIA Saving Sure กรอกแบบฟอร์มติดต่อกลับ ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
*หากผู้เอาประกันภัยมีหนี้สินใดๆ คงค้างตามกรมธรรม์ บริษัทมีสิทธิหักจำนวนหนี้สินดังกล่าวออกจากจำนวนเงินผลประโยชน์ที่พึงจ่ายก่อน
**เบี้ยประกันชีวิตสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
หมายเหตุ:
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย