วางแผนเกษียณแบบสำราญได้ ตามไลฟ์สไตล์แบบคุณ

วางแผนเกษียณอย่างสำราญ

ตามไลฟ์สไตล์ในแบบคุณ

‘ชีวิตการทำงานใกล้จบแล้วหรอ? เอายังไงต่อดี?’ ประโยคนี้อาจดังเข้ามาในหัวใครหลาย ๆ คนที่กำลังเข้าใกล้วัยเกษียณ บางคนอาจรู้สึกตื่นเต้นกับอิสรภาพที่รออยู่ข้างหน้า บางคนอาจกังวลกับอนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร การเกษียณอายุเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำงานประจำ และเป็นจุดเริ่มต้นของบทใหม่ ที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย

การเกษียณไม่ได้หมายความว่าจะต้องหยุดใช้ชีวิตไปซะทีเดียว จริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน บางคนอาจชอบอยู่บ้านสบาย ๆ บางคนอาจชอบท่องเที่ยว บางคนอาจชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูง รวมถึงใฝ่ฝันถึงชีวิตหลังเกษียณที่เต็มไปด้วยความสุข 

แต่ถ้าอยากเกษียณอย่างสำราญ ได้ทำในสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยได้ทำ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทอง การวางแผนก่อนเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ชีวิตหลังเกษียณของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุข

เกษียณอย่างสำราญในแต่ละไลฟ์สไตล์

แนะนำวิธีการวางแผนก่อนเกษียณในแบบที่เข้าใจง่าย ตามไลฟ์สไตล์ 4 แบบ ได้แก่

1. สายเที่ยว

วัยเกษียณคือช่วงเวลาท่ีเหมาะแก่การออกเดินทาง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และสร้างความทรงจำใหม่ ๆ ที่น่าประทับใจ แต่สิ่งสำคัญคือการวางแผนเกษียณให้พร้อม

● ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน – ลองคิดดูว่าหลังเกษียณแล้วเราอยากไปเที่ยวที่ไหนบ้าง? ไปประเทศอะไรบ้าง? ไปกับใครบ้าง? สิ่งที่แนะนำคือควรเลือกสถานที่ที่เหมาะกับสภาพร่างกายของตัวเอง

● เริ่มวางแผนการเดินทาง – ค่อย ๆ วางแผนการเดินทางล่วงหน้า เพื่อให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าแต่ละทริปต้องใช้เงินเท่าไหร่บ้าง

● วางแผนการเก็บเงิน –  เตรียมเงินออมสำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละทริป ไม่ว่าจะค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายจิปาถะ รวมถึงเงินสำรองเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินด้วย 

● เตรียมร่างกายให้พร้อม – จะไปเที่ยวให้สนุก ร่างกายเราต้องพร้อม อย่ามัวแต่ทำงาน จนไม่มีเวลาออกกำลังกายและดูแลตัวเอง

2. สายกิน

แน่นอนว่าสายกินคงหนีไม่พ้น การได้ทานอาหารที่ชอบและได้ทดลองเมนูใหม่ ๆ ได้ค้นหาร้านอาหารอร่อย ๆ และใช้เวลากับครอบครัว เพื่อนฝูง ผ่านมื้ออาหารท่ีอบอุ่น ซึ่งสามารถเตรียมตัวได้ดังนี้

● ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ – การตามใจปากตัวเองมากเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีเท่าไหร่ ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อกการเป็นโรคต่าง ๆ ก็มากขึ้นตามไปด้วย ควรดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงและสนุกกกับการกินได้อีกหลายปี

● เรียนรู้วิธีทำอาหารทานเอง – เมื่อถึงเวลาที่ต้องเกษียณออกมา อาจต้องระวังเรื่องการใช้เงินมากขึ้น การเรียนรู้วิธีทำอาหารและวิธีการปลูกผักสวนครัวเอาไว้ทานเอง ถือเป็นไอเดียที่ไม่เลว สามารถช่วยประหยัดงบประมาณได้

3. สายลงทุน

การลงทุน เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยให้คุณมีอิสรภาพทางการเงินหลังเกษียณ ช่วยให้คุณมีเงินออมเพียงพอสำหรับใช้ชีวิตในแบบที่คุณต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพารายได้จากการทำงาน แต่ควรวางแผนอย่างรอบคอบ

● ตั้งเป้าหมายการลงทุน – อันดับแรกคือการตั้งเป้า ถึงจะเห็นภาพที่ชัดเจนว่า ต้องการเงินออมเท่าไหร่หลังเกษียณ? จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหน? รับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน? ระยะเวลาการลงทุนนานแค่ไหน?

● ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน –  จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลประเภทของการลงทุน ความเสี่ยงและผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์

● เลือกกลยุทธ์การลงทุน – เมื่อทำความเข้าใจแล้วค่อยตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ของการลงทุนว่าไลฟ์สไตล์เราเหมาะกับอะไร เช่น กระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท ลงทุนระยะยาวเพื่อผลตอบแทนที่มั่นคง ฯลฯ

4. สายชิว

บางคนชอบใช้ชีวิตเรียบง่าย ช้า ๆ ไม่ต้องรีบ ไม่ชอบวางแผน ไม่ชอบหลักการ ปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามที่เป็น แต่ก็อย่าชิวจนเกินไป ควรเตรียมพร้อมไว้บ้างล่วงหน้า 

● ตั้งเป้าหมายชีวิตหลังเกษียณ – ถามตัวเองดูว่าสุดท้ายแล้วเราอยากใช้ชีวิตแบบไหน? อยากทำอะไร? อยากอยู่ที่ไหน? และต้องใช้เงินเท่าไหร่?

● วางแผนการเงิน – ควรเก็บออมเงินให้เพียงพอ วางแผนการใช้จ่าย ถ้าให้ดีควรทำให้ละเอียด โดยการคำนวณในแต่ละปีออกมา รวมถึงเตรียมประกันสุขภาพ

● เตรียมบ้านให้พร้อม – จริง ๆ ข้อนี้สำคัญมาก ควรปรับบ้านให้เหมาะสมกับวัย ถ้าอะไรพังก็ซ่อมให้เรียบร้อย เพราะคนสายนี้มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน ถ้าบรรยากาศภายในบ้านไม่น่าอยู่ ของต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน อาจทำให้ชีวิตหลังเกษียณของคุณไม่มีความสุขอย่างที่คิด

เคล็ดลับเกษียณให้สำราญกับ 3 หลักการง่าย ๆ

อีกหนึ่งทริคที่อยากแบ่งปัน ไม่ว่าคุณจะอยู่สายไหนหรือมีไลฟ์สไตล์แบบไหน ถ้าวางแผนและเตรียมความพร้อมให้ดี โดยยึดถึง 3 หลักการต่อจากนี้ รับรองว่าช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณของคุณ มีแต่ความสำราญอย่างแน่นอน

1. การเงินที่มั่นคง

วางแผนการเงิน คือสิ่งสำคัญที่สุดในการเกษียณ ต้องวางแผนการเงินอย่างรอบครอบให้พอดีกับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็น โดยควรเริ่มวางแผนตั้งแต่แรก เพื่อให้มีเวลาศึกษา จัดการ และออมเงินให้เพียงพอ

2. การมีสุขภาพที่ดี

เตรียมความพร้อมด้านสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

3. การมีความสัมพันธภาพที่ดี

รักษาความสัมพันธ์กับคนรัก ครอบครัว และเพื่อนฝูงเอาไว้ให้ดี อย่าทำงานหนักจนหลงลืมคนรอบข้าง เพราะการมีเพื่อนฝูง คนรักและสังคมที่ดี จะช่วยให้คุณมีคนที่คอยให้กำลังใจ และชวนกันไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในวัยเกษียณ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเกษียณอย่างมีความสุข

ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะมีชิวตหลังเกษียณอย่างสำราญประกอบไปด้วยหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ที่กล่าวไปข้างต้นเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ดังนั้นควรวางแผนและเตรียมพร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ วางแผนเกษียณอย่างสำราญตั้งแต่วันนี้กับ AIA Annuity sure ประกันชีวิตแบบบำนาญ และ AIA Infinite Wealth ประกันชีวิตควบการลงทุน ให้คุณมั่นใจได้ว่าจะมีเงินใช้หลังเกษียณ ไม่เป็นภาระของลูกหลานอย่างแน่นอน

สนใจสมัคร AIA Annuity sure และ AIA Infinite Wealth กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

หมายเหตุ

- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง 

- ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่แถลงข้อความจริงในการขอเอาประกันภัย การปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความเป็นเท็จใด ๆ อาจเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับประกันภัย บอกล้างสัญญาประกันภัยและปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย 

- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

 

คำเตือน :

- การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์เอไอเอ ยูนิต ลิงค์ (aia.co.th)

- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

- การทำประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงศึกษา อ่าน และทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายและหนังสือชี้ชวนของกองทุน ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยและลงทุน

แบบฟอร์มการติดต่อ ถูกใจ 0

วิธีการติดต่อ
สนใจบทความนี้? ติดต่อกลับเพื่อรับคำปรึกษาและใบเสนอราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

ข้อมูลที่จำเป็น
ชื่อเต็มของคุณ
กรุณากรอกข้อมูลชื่อให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
กรุณากรอกข้อมูลนามสกุลให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
ชื่อเต็มของคุณ
กรุณากรอกข้อมูลนามสกุลให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
กรุณากรอกข้อมูลชื่อให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น

ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ
กรุณากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์มือถือให้ครบ 10 หลัก
อีเมล
กรุณากรอกข้อมูลอีเมลให้ถูกต้อง
รหัสประเทศ
กรูณากรอกข้อมุลรหัสประเทศให้ถูกต้อง
กรุณากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ให้ถูกต้อง
กรุณากรอกข้อมูลอีเมลให้ถูกต้อง
จังหวัด

ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เอไอเอ จำกัด และกลุ่มบริษัทเอไอเอ (เอไอเอ) สามารถเก็บใช้ข้อมูลที่ข้าพเจ้าให้ไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ หรือแจ้งสิทธิประโยชน์ แจ้งข้อมูลข่าวสารของเอไอเอ ติดต่อและนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ กรมธรรม์ ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิต การเป็นที่ปรึกษาด้านประกันชีวิตและการเงิน (FA) หรือ AIA Life Advisor และใช้เพื่อประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจของข้าพเจ้าที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลทางการตลาดเพื่อให้เอไอเอปรับปรุง และพัฒนาการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ และข้อมูลทางการตลาด รวมถึงยินยอมให้เอไอเอส่งหรือโอนข้อมูลแก่พันธมิตรทางการค้า/คู่ค้า ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต (ถ้ามี) เพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันข้างต้น
ฉันยืนยันว่าฉันได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ สามารถศึกษานโยบายข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่เว็บไซต์ของเอไอเอตามลิ้งค์ดังต่อไปนี้ www.aia.co.th/privacy และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ร้องขอใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด ได้ที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (DPO) ผ่านเอไอเอคอลเซ็นเตอร์ โทร. 1581 หรืออีเมลมาที่ th.privacy@aia.com หรือติดต่อตามที่อยู่ที่ บริษัท เอไอเอ จำกัด 181 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพ 10500
ส่ง