
เทคนิคบริหารการเงิน แบบตะวันตก VS ตะวันออก สไตล์ไหนเหมาะกับคุณ
เรื่องเงินทองใครว่าไม่สำคัญ ยิ่งมนุษย์เงินเดือนอย่างเราการได้เงินมา แล้วออกไปกิน เที่ยว ช้อป พอนึกขึ้นได้ก็ลืมเรื่องการออมเงินทุกที ส่วนหนึ่งต้องยอมรับถึงเหตุผลที่เกิดขึ้นมาจากขาดทริคจัดการบริหารเงินที่ดี ไม่รู้ว่าเงินส่วนไหนควรใช้จ่าย ส่วนไหนควรเก็บ ยิ่งใครมีบัตรเครดิตบางทีลืมตัวรูดเพลิน รู้สึกตัวอีกทีหนี้ท่วมเสียแล้ว
เทคนิคการบริหารเงินทุกวันนี้ถือได้ว่ามีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น การออมเงินตามวันที่ การออมเงินตามเหตุการณ์สำคัญ เป็นต้น รวมถึงเทคนิคดี ๆ ที่เราอยากให้ทุกคนเรียนรู้เคล็ดลับการแบ่งเงินที่น่าสนใจ และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่าย ๆ แถมมีเงินเก็บอย่างที่ตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน!
เทคนิคบริหารเงินแบบตะวันตก
สูตร 50-30-20 คือ การแยกสัดส่วนของรายได้ต่อเดือนของคุณออกมาให้ชัดเจน โดยต้องจัดสรรตามความเหมาะสมเมื่อเทียบเป็น 100% ว่าเงินก้อนที่ได้มาในทุกเดือนต้องแบ่งออกไปตามสัดส่วนเท่าใด เหมาะกับคนที่ต้องการเริ่มต้นบริหารจัดการเงิน โดยตัวเลขทั้ง 3 ตัว มีความหมาย ดังนี้
1. สัดส่วน 50% ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าสาธารณูปโภค ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าอาหารเฉลี่ยทั้งเดือน ค่าเดินทาง เป็นต้น เพราะนี่เป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วยให้คุณมีชีวิตประจำวันได้อย่างไม่เกิดปัญหา และหากว่ารายจ่ายที่จำเป็นเกินกว่า 50% อาจจะต้องดูว่ารายจ่ายในส่วนใดที่จะลดลงได้และไม่ได้ส่งผลอะไรกับชีวิต
2. สัดส่วน 30% ค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความสุข เป็นการซื้อความสุขเล็ก ๆ ให้กับตนเอง เช่น ไปช้อปปิ้ง ดูหนัง หรือแม้แต่การสมัครสมาชิกรายเดือนอย่างแอปสตรีมมิงต่าง ๆ เพื่อเสพความบันเทิงหลังจากที่เหนื่อยจากการทำงาน หรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยวช่วงวันหยุดเพื่อผ่อนคลายความเหนื่อยล้า เป็นต้น
3. สัดส่วน 20% เพื่อการเก็บออม เป็นเงินส่วนที่เอาไว้เก็บออมเพื่อสร้างอนาคตให้กับตนเองในระยะยาว ไม่ว่าจะเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ไว้เป็นเงินก้อนสำหรับเป้าหมายชีวิตในอนาคต หรือนำไปลงทุนกับกองทุนรวมประเภทความเสี่ยงต่ำก็ได้เช่นกัน

เทคนิคบริหารเงินแบบตะวันออก
สูตร Kakeibo คือการออมเงินของคนญี่ปุ่นที่มีมานานกว่า 120 ปี เป็นวิธีการออมเงินที่ต้องมีการวางแผนในการออมเงินอย่างเคร่งครัด และเป็นการสร้างพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยในการเก็บเงินได้เป็นอย่างดี เหมาะกับคนชอบจดบันทึก มีระเบียบวินัยในการใช้เงิน โดยการออมเงินแบบวิธี Kakeibo นั้น ใช้อุปกรณ์เพียงสมุดกับปากกาเท่านั้น
- จดรายได้ทั้งหมด บันทึกรายได้ทั้งหมดที่ได้รับมาในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนจากงานประจำหรืองานเสริม
- จดค่าใช้จ่ายประจำ ค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายในทุกเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ และหนี้สินต่าง ๆ
- หาจำนวนเงินที่เหลือ หักค่าใช้จ่ายประจำออกจากรายรับ เพื่อดูว่าจำนวนเงินที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายประจำแล้วมีเท่าไร เพื่อนำมาวางแผนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่อไป
- การตั้งคำถาม กับตัวเองทุกครั้งในการจะจับจ่ายใช้สอยในแต่ละครั้งว่า ทำไมเราถึงซื้อของสิ่งนี้ โดยที่คำตอบจะต้องมีการกลั่นกรองและมีเหตุผลมารองรับอย่างหนักแน่น แต่หากเราไม่มีคำตอบที่มีเหตุผลมากพอ นั่นก็แสดงว่าของสิ่งนั้นไม่ได้มีความจำเป็นต่อตัวเรา
- บันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และทำให้เป็นคนที่มีวินัยและรู้จักตัวเองมากขึ้นด้วย

เชื่อว่าหลายคนคงจะพอมีไอเดียไปต่อยอดเพื่อเพิ่มเงินออม ปรับเปลี่ยนนิสัยการบริหารเงินให้เหมาะสมกับสไตล์ของตัวเองได้แล้ว แต่ไม่ว่าคุณจะมีบุคลิกภาพแบบไหน สไตล์การออมเงินเป็นอย่างไร การจัดสรรปันส่วนและมองหาผู้ช่วยที่ช่วยให้เงินออมของคุณเพิ่มพูน ย่อมดีกว่าการปล่อยให้เงินนอนกองแน่นิ่งอยู่เฉย ๆ
ขอแนะนำ AIA Protection 65 (Non Par) ตัวช่วยการออมในรูปแบบประกัน ที่จะช่วยสร้างวินัยในเงินระยะยาวให้เรามีเงินสำรองสำหรับใช้ในอนาคต
- ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งสบาย สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน ถึง 60 ปี
- รับเงินคืนแบบขั้นบันไดตั้งแต่อายุ 65-98 ปี กับผลประโยชน์รวมสูงสุดถึง 760% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
- ทยอยชำระเบี้ยฯ ได้จนถึงอายุ 65 ปี
หากสนใจทำประกัน AIA Protection 65 (Non Par) กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
หมายเหตุ
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• การตรวจสุขภาพและการพิจารณารับประกันภัยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
ขอบคุณข้อมูล ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ