
การระบาดของโรคไข้เลือดออก ช่วงนี้เริ่มน่าเป็นห่วงมากขึ้น เนื่องจากพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
ต้นปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยแล้ว 8,197 ราย มากกว่าปี 2566 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 1.9 เท่า (4,286 ราย) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบมากทางภาคใต้และภาคกลาง ซึ่งพบผู้เสียชีวิตแล้ว 25 ราย อัตราการป่วยและเสียชีวิตอยู่ที่ 0.14 ราย ต่อ 100 ราย ซึ่งสูงกว่า โรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด 19
โดยช่วงอายุที่พบป่วยมากที่สุดได้แก่ 5-14 ปี ป่วย 3,776 ราย คิดเป็น ร้อยละ 50.66 ,รองลงมา อายุ 15-24 ปี ป่วย 3,072 ราย คิดเป็น ร้อยละ 37.44 และ อายุ 25-34 ปี ป่วย 2,350 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.03 ส่วนอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 65 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 0.23 รองลงมา อายุ 55-64 ปี ร้อยละ 0.18
เชื้อไวรัสเดงกีมีระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8 -12 วัน เมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนอื่นอีกก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนาน 5-8 วัน หรือสั้นที่สุด 3 วัน ยาวนานที่สุด 15 วัน ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ อย่างไรก็ตามด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้น อย่างประเทศไทย จึงยิ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับการมีฝนตก ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เมื่อมีฝนตกมากคนอยู่รวมกันหนาแน่น โอกาสที่จะแพร่ระบาดของโรคนี้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

สังเกตอย่างไรว่ากำลังเป็นไข้เลือดออก
- มีไข้สูงลอย (38 - 40 องศา) ติดต่อกัน 2 - 7 วัน
- ตาแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดเบ้าตา คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง
- มีจ้ำเลือดที่ผิวหนังเป็นจุดเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้
- บางรายมีภาวะอาการตับโต กดเจ็บ ส่วนใหญ่จะคลำพบ ตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับตั้งแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่ม และกดเจ็บ
- สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือ อาการช็อก ที่ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลว ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด ช่องท้อง เกิด hypovolemic shock ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดอาการช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค โดยผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลง จะเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา ชีพจรเต้นเร็ว และความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
เดิมทีผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เสียชีวิตมักพบมากในกลุ่มเด็ก แต่ปัจจุบันพบว่ากลุ่มที่เสียชีวิตสูงสุดเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว ทำให้ขณะนี้โรคไข้เลือดออกเป็นโรคของทุกกลุ่มวัยไปแล้ว โดยการติดเชื้อครั้งแรกอาการอาจจะไม่มาก แต่ถ้ามีการติดเชื้อซ้ำจะมีความรุนแรง และบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากเมื่อมีอาการป่วย ส่วนใหญ่มักไม่ได้สังเกตอาการตัวเอง โดยคิดว่าป่วยเป็นไข้หวัดเท่านั้น และเลือกที่จะซื้อยามาทานเอง
การซื้อยาลดไข้มาทานเองอย่างยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค แอสไพริน รวมถึงยาชุด จะมีผลทำให้เลือดออกมากในทางเดินอาหารและเสี่ยงเสียชีวิตได้
หากรับประทานยาลดไข้หรือเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด หรือไข้ลดแล้วไข้กลับมาสูงอีก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งโรคไข้เลือดออกหากได้รับการรักษาเร็วจะสามารถป้องกันที่อาการรุนแรง และการเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม ถึงเราจะดูแลร่างกายและระวังตัวดีแค่ไหน แต่ความเสี่ยงเรื่องการเจ็บป่วยก็ยังเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก การทำประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย จะทำให้อุ่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมและทันท่วงที
AIA Health Happy ประกันสุขภาพแบบเหมา เบิ้ล คุ้ม
เหมา - จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 25 ล้านบาท/รอบปีกรมธรรม์
เบิ้ล - ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่า (1) กรณีป่วยเป็นโรคร้ายแรง (2)
คุ้ม - รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสูงสุด 15% จากโครงการ AIA Vitality และพิเศษสำหรับแผน 15 และ 25 ล้านบาท รับบริการดูแลจัดการผู้ป่วยรายบุคคล* เพื่อร่วมหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะคุณ
1 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง ตามคำนิยามที่กำหนดในบันทึกสลักหลัง
2 โรคร้ายแรง หมายถึง โรคร้ายแรงตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้บันทึกสลักหลัง ผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง มีดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack), โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke), การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery), โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer), การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation), และการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
*รายละเอียดและเงื่อนไขสำหรับการพิจารณา การให้สิทธิประโยชน์ การให้บริการต่างๆเป็นไปตามนโยบายของผู้ให้บริการ บริการจัดการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล (Personal Medical Case Management) ซึ่งเป็นบริษัทนอกกลุ่มเอไอเอ และอยู่นอกเหนือการบริหารงานของเอไอเอ เอไอเอจะไม่รับผิดชอบต่อการบริการ ผลิตภัณฑ์และข้อเสนอใดๆ ที่นำเสนอโดยผู้ให้บริการนี้
สนใจทำประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
ขอบคุณ กรมควบคุมโรค
หมายเหตุ
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง