
หากพูดถึงอาการ “เหงื่อออกที่มือ” หลายคนอาจไม่ใส่ใจ แต่หลายคนคงนึกถึง “โรคหัวใจ" ขึ้นมาทันที จนทำให้วิตกกังวล เพราะอาจจะเคยได้ยินได้ฟังมา แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่มีเหงื่อออกบริเวณมือมากกว่าปกติ โดยไม่สัมพันธ์กับอากาศร้อน ความเครียด หรือการออกกำลังกาย ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต และไม่ได้เกี่ยวกับโรคหัวใจ แต่อาจมีผลกระทบด้านจิตใจ อารมณ์ การงาน และการเข้าสังคมได้
อาการเหงื่อออกที่มือโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยไม่ใช่โรคหัวใจ ซึ่งผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย อาจมีอาการใจสั่น หรือเหงื่อออกร่วมด้วยได้
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มภาวะเหงื่อออกที่มือที่มีโรคอื่นเป็นสาเหตุมาเป็นตัวกระตุ้น เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ คนที่มีภาวะอ้วนหรือเป็นโรคอ้วน ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน คนที่รับประทานยาบางชนิด เป็นต้น
- กลุ่มภาวะเหงื่อออกที่มือที่เกิดจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ หรือตัวต่อมเหงื่อทำงานมากผิดปกติ
อันตรายจากเหงื่อออกที่มือ
ปกติแล้วภาวะเหงื่อออกที่มือ ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะมีแค่ในบางกรณีที่อาจสื่อถึงผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญสูง อาจทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกที่มือมากกว่าปกติได้ ส่วนโรคหัวใจ ไม่มีผลทำให้เหงื่อออกที่มือตามที่กล่าวถึงกันมาก
แม้การมีเหงื่อออกตามมือมากผิดปกติจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่การมีเหงื่อออกมากอาจสร้างความกังวลใจ ความไม่มั่นใจ และไม่กล้าเข้าสังคม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ตรงจุด โดยแพทย์จะดูจากลักษณะการออกของเหงื่อ ร่วมกับการตรวจร่างกายด้านอื่น ๆ เพื่อวางแผนการรักษาที่ต้นเหตุ เพื่อให้คนไข้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
สำหรับลูกค้าเอไอเอที่มีความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) อยู่แล้ว หากมีอาการเหงื่อออกที่มือ แล้วเป็นกังวล สามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านทางแอปพลิเคชันหมอดี (MorDee) โดยไม่ต้องสำรองจ่าย พร้อมส่งยาให้ถึงบ้าน*
อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกด้านล่างเพื่อติดต่อตัวแทน AIA เลย
*ไม่สามารถเบิกค่าส่งยาจากกรมธรรม์เอไอเอได้
หมายเหตุ:
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการแพทย์