
การเจ็บไข้ได้ป่วยถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องพบเจอ
แม้จะดูแลตัวเองดีแค่ไหน แต่โรคภัยต่าง ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ
● คุณบี นั่งดูทีวีอยู่ที่บ้านก็มีอาการปวดไส้ติ่งอักเสบ ทำให้ต้องผ่าตัดด่วน
● คุณจ๋า ตรวจพบโรคมะเร็งปอด แม้จะไม่เคยสูบบุหรี่เลยสักครั้ง
● คุณวิว ติดโรค COVID-19 ทั้ง ๆ ที่ Work From Home อยู่ที่บ้านทุกวัน
และยังมีเหตุการณ์อีกมากมาย ที่ทำให้เราตระหนักได้ว่าอาการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ นั้น เป็นเรื่องที่ยากต่อการควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นจริง ๆ
แต่คำถามที่น่าสนใจไปมากกว่านั้น คือ ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงกลัวการนอนโรงพยาบาล?
หากไม่สบายเพียงเล็กน้อย การไปพบแพทย์คงไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะสามารถไปพบแพทย์แล้วรับยากลับมาพักรักษาตัวที่บ้านได้ แต่หากเริ่มรู้สึกว่าไม่สบายหนักจนอาจถึงขั้นต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หลายคนกลับเลือกที่จะอดทนไม่ไปพบแพทย์ เพียงเพราะกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
ทั้งที่สิ่งที่จำเป็นที่สุดในยามเจ็บป่วยหนัก ก็คือ การได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีและรวดเร็ว โดยเฉพาะในกรณีของการรักษาที่ต้องการความเร่งด่วนด้วยแล้ว ซึ่งหากเลือกที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ก็มีหลาย ๆ แห่งที่มี ราคาค่าใช้จ่ายต่อวันสูงกว่าโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวเสียอีก
และในวันนี้ เอไอเอ จะมาแจกแจงรายละเอียดที่มาของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่ามีอะไรกันบ้าง แล้วทำไมการนอนโรงพยาบาลหนึ่งครั้งถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ๆ
1. ค่าห้อง
แน่นอนว่าการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลนั้น จำเป็นต้องจ่ายค่าห้องในราคาต่อคืน โดยราคาค่าห้องของแต่ละโรงพยาบาลนั้นแตกต่างกันออกไป บางโรงพยาบาลมีห้องหลายแบบ แต่ยิ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น
หลายคนอาจคิดว่า หากมีเหตุให้ต้องนอนโรงพยาบาล ก็สามารถเลือกห้องที่ราคาต่ำที่สุดได้เพื่อความประหยัด แต่เหตุการณ์ที่ผู้ป่วยหลายท่านเจอ คือห้องที่ราคาถูกที่สุดนั้นเต็ม ทำให้จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในห้องที่มีราคาสูงขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ค่าหมอ
เป็นค่าใช้จ่ายของแพทย์ที่เข้ามาเยี่ยมไข้ขณะที่เรานอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในแต่ละวัน โดยส่วนมากจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามจำนวนของแพทย์ เพราะการรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น อาการป่วยของเราอาจจำเป็นที่จะต้องมีแพทย์เฉพาะทางจากแผนกต่าง ๆ มาช่วยวินิจฉัย ซึ่งยิ่งมีแพทย์เข้าเยี่ยมหลายท่าน ค่าใช้จ่ายก็จะยิ่งสูงขึ้น อีกทั้งแพทย์แต่ละท่านก็จะมีค่าแพทย์ที่แตกต่างกันออกไปอีก
3. ค่าบริการพยาบาล
เป็นค่าใช้จ่ายของพยาบาลที่คอยดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ผลัดเปลี่ยนเวรกันเข้ามาดูแล ทั้งให้ยา วัดไข้ วัดความดันโลหิต เปลี่ยนน้ำเกลือ เช็ดตัว และดูแลเราตลอดการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่าอาการเจ็บป่วยของเราได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
4. ค่าบริการโรงพยาบาล
ถือเป็นค่าใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งที่แยกออกมาจากค่าหมอ และค่าบริการพยาบาล ได้แก่ ค่าบริการทำความสะอาดห้อง ค่าบริการของเจ้าหน้าที่ในแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องขณะที่เราพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
5. ค่าอาหาร
แน่นอนว่าขณะที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะจัดอาหารให้เราครบทั้ง 3 มื้อต่อวัน
โดยโรงพยาบาลบางแห่งอาจให้คนไข้เลือกได้ว่าจะรับประทานอาหารของโรงพยาบาลหรือไม่ หากคนไข้เลือกจะสั่งซื้อจากร้านอาหาร หรือญาติเตรียมอาหารมาให้ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้
ยกเว้นคนไข้ที่ต้องการการดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน คนไข้ผ่าตัด ที่จำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารของโรงพยาบาลเท่านั้น
6. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
ส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายของการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น เครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ (ใช้ในการให้น้ำเกลือและยาทางเส้นเลือดต่าง ๆ) อุปกรณ์การฉีดยา การเจาะเลือด การเก็บปัสสาวะ-อุจจาระ เป็นต้น
7. ค่าหัตถการ
ในการรักษาตัวในโรงพยาบาล มักจะมีการทำหัตถการเกิดขึ้น อาทิ การทำแผล การฉีดยา การเจาะเลือด การเจาะน้ำเกลือ การเอกซเรย์ เป็นต้น
8. ค่ายาขณะเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
เป็นค่าใช้จ่ายของยาที่เรารับประทานหรือใช้ขณะนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย
9. ค่ายากลับบ้าน
เป็นค่าใช้จ่ายของยาที่แพทย์สั่งให้ไปรับประทานหรือใช้ต่อที่บ้าน หลังจากออกจากโรงพยาบาล ซึ่งแม้จะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยาเหมือนกัน แต่จะถูกแยกประเภทออกมาจากค่ายาขณะรักษาตัว และในความคุ้มครองของประกันสุขภาพนั้น ก็คุ้มครองโดยแยกค่าใช้จ่ายของยา 2 ประเภทนี้ออกจากกัน
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น แต่ละโรงพยาบาลก็จะมีรายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป อัตราค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน หากต้องการทราบค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องสอบถามจากโรงพยาบาลทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นเพียงการประมาณการเบื้องต้นเท่านั้น ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาที่ประเมินก็ได้

แต่ค่าใช้จ่ายในการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ก็จะไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวลใจ หากคุณมี AIA Health Happy ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่มีความคุ้มครองให้เลือกถึง 4 แผน
● แผนที่ 1 : คุ้มครอง 1 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง เอไอเอ เพิ่ม จำนวนเงินเอาประกันภัย เป็น 2 ล้านบาท คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) วันละ 1,500 บาท
● แผนที่ 2 : คุ้มครอง 5 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง เอไอเอ เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็น 10 ล้านบาท คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) วันละ 3,000 บาท
● แผนที่ 3 : คุ้มครอง 15 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง เอไอเอ เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัย เป็น 30 ล้านบาท คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) วันละ 6,000 บาท
● แผนที่ 4 : คุ้มครอง 25 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง เอไอเอ เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็น 50 ล้านบาท คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) วันละ 9,000 บาท พร้อมความคุ้มครองในกรณีรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) 2,000 บาทต่อครั้ง สูงสุด 30 ครั้งต่อรอบปีกรมธรรม์ และสามารถรับบริการจัดการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล (Personal Medical Case Management – PMCM) จาก Teledoc Health1 ที่จะช่วยให้คุณได้รับความเห็นที่สองจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เกี่ยวกับการวินิจฉัยและทางเลือกในการรักษา เพื่อให้คุณเข้าใจสถานการณ์ความเจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้น
ทุกแผนผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่า2 กรณีเป็นโรคร้ายแรง3
มีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไว้ เพื่อให้คุณได้รับการรักษาที่ดีและรวดเร็วที่สุด แบบไร้กังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล
สนใจทำประกันสุขภาพกับ เอไอเอ กดติดต่อกลับ และกรอกแบบฟอร์ม เพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตของเรา แนะนำรูปแบบประกันที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
1Teladoc Health เป็นบริษัทที่มีความเป็นอิสระจากเอไอเอ เอไอเอไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Teladoc Health ในแง่ของการถือหุ้นและผู้บริหาร และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใดๆ ของ Teladoc Health ความพยายามในการชักชวนให้ใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพโดย Teladoc Health
2 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในปีกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง ตามคำนิยามที่กำหนดในบันทึกสลักหลัง
3 โรคร้ายแรง หมายถึง โรคร้ายแรงตามคำนิยามของโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้บันทึกสลักหลัง ผลประโยชน์ความคุ้มครองกรณีโรคร้ายแรง มีดังนี้ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack), โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke), การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-Pass Surgery), โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer), การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation), และการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)