
อยากทำประกันให้พ่อแม่สูงวัย ต้องรู้อะไรบ้าง?
หลังจากที่ทำประกันต่าง ๆ ให้กับตัวเองแล้ว อีกหนึ่งคนที่เรานึกถึงและอยากให้มีประกันมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพ่อแม่ของเรานั่นเอง แต่การทำประกันให้พ่อแม่สูงวัยนั้นจะเหมือนกับที่เราทำประกันให้ตัวเองหรือเปล่า? หรือมีเงื่อนไขอะไรที่ควรรู้บ้าง? มาหาคำตอบกันในบทความนี้
1. อายุรับประกันภัยสำหรับการทำประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุ
สำหรับประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะถูกกำหนดช่วงอายุของผู้เอาประกันภัยที่สามารถทำประกันได้ตั้งแต่ 50-70 ปี โดยจะได้รับความคุ้มครองไปจนถึงอายุ 80-90 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแบบประกันที่เราเลือกทำ
ซึ่งจะแตกต่างกับประกันชีวิตทั่วไป ที่สามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 50 ปี โดยเงื่อนไขสำคัญของประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุก็คือ ไม่ต้องมีการตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพใด ๆ ทำให้พ่อแม่สูงวัยที่มีโรคประจำตัวสามารถทำประกันชีวิตได้เหมือนกับคนทั่วไป
ตัวอย่างเช่น ประกันชีวิต AIA Senior Happy
AIA Senior Happy ประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุ ทำง่าย จ่ายสบาย เบี้ยประกันภัยคงที่ตลอดสัญญา เริ่มต้นเพียงวันละ 7 บาท*
● ทำได้ตั้งแต่อายุ 50-70 ปี คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี
● คุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อกรมธรรม์
● ไม่ต้องตรวจและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ
● อยู่ครบสัญญารับเงินคืน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ หรือจำนวนเบี้ยประกันภัยหลักที่ชำระมาแล้ว¹
2. ประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุไม่ใช่ประกันสุขภาพ
หลายคนเข้าใจผิดในเรื่องนี้ เพราะสับสนกับคำว่า “ประกันผู้สูงอายุ” ที่เห็นหรือได้ยินจากสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ จนตัดสินใจทำประกันในลักษณะนี้ให้กับพ่อแม่ เพราะคิดว่าความคุ้มครองที่ได้รับจะครอบคลุมไปถึงค่ารักษาพยาบาล จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายหากเกิดกรณีที่พ่อแม่ต้องเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล
แต่ความจริงแล้ว “ประกันผู้สูงอายุ” หากจะเรียกให้ถูกต้องและครบถ้วน จะต้องเรียกว่า “ประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุ” ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น “ประกันชีวิต” ไม่ใช่ “ประกันสุขภาพ” ดังนั้นความคุ้มครองจึงไม่ได้ครอบคลุมไปถึงค่ารักษาพยาบาลอย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกันไป
และประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุจะจ่ายผลประโยชน์เป็นเงินเอาประกันภัยตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ให้กับผู้รับประโยชน์ก็ต่อเมื่อพ่อแม่หรือผู้สูงอายุท่านนั้น ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เสียชีวิตลง หรืออยู่จนครบสัญญาเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จริง ๆ จากการทำประกันชีวิตเพื่อผู้สูงอายุจึงมีโอกาสเป็นลูกหลานมากกว่าที่จะเป็นตัวพ่อแม่เอง
ด้วยเหตุนี้ สำหรับลูก ๆ ที่มองหาความคุ้มครองในรูปแบบค่ารักษาพยาบาลให้พ่อแม่ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย หรือต้องการให้พ่อแม่ที่เราเคารพรักสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดีที่สุดได้อย่างเบาใจไร้กังวล ก็สามารถเลือกทำประกันสุขภาพให้กับพ่อแม่สูงวัยเป็นสัญญาเพิ่มเติมแนบกับประกันชีวิตที่เป็นสัญญาหลักได้เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น AIA Health Saver ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจาก เอไอเอ ที่จะช่วยให้คุณคลายความกังวลกับปัญหาสุขภาพของพ่อแม่ ให้ทุกอาการเจ็บป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่าย
● ทำประกันได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน ไปจนถึง 75 ปี และต่ออายุได้ถึง 98 ปี
● เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดถึง 500,000 บาท ต่อรอบปีกรมธรรม์2
● คุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD)3 สูงสุด 30 ครั้ง ต่อรอบปีกรมธรรม์4 ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลก็เคลมได้
● คุ้มครองเพิ่ม 2 เท่า5 เมื่อป่วยเป็น 6 โรคร้ายแรงยอดฮิต6
3. อาจมีกรณียกเว้นความคุ้มครองในบางเงื่อนไข
การทำประกันสุขภาพให้พ่อแม่สูงวัยนั้นใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับประกันภัยเหมือนกับการทำประกันสุขภาพทั่วไปทุกประการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพและชี้แจ้งเกี่ยวกับโรคที่เป็นมาก่อนหน้า
ซึ่งหากโรคที่เป็นมาก่อนเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น บริษัทประกันก็อาจพิจารณาไม่รับทำประกัน หรือรับทำแต่ยกเว้นไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคหรืออาการอื่น ๆ ที่เป็นมาก่อนการทำประกัน
ทำให้การทำประกันสุขภาพให้กับพ่อแม่สูงวัยอาจมีกรณียกเว้นความคุ้มครองในบางเงื่อนไขเหล่านี้ได้ แตกต่างจากการทำประกันสุขภาพในวัยหนุ่มสาวที่ร่างกายยังแข็งแรง และไม่เคยเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังใด ๆ มาก่อน ที่ความคุ้มครองจะครอบคลุมทุกอาการเจ็บป่วยและการรักษา ดังนั้นแล้วการตัดสินใจทำประกันสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะยิ่งทำเร็วก็ยิ่งได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่า

สนใจทำประกันให้พ่อแม่สูงวัย กดติดต่อกลับ และกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตจากเอไอเอแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
*คำนวณจากผู้เอาประกัน เพศหญิง อายุ 50 ปี จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท
¹จำนวนเบี้ยประกันหลักที่บริษัทได้รับชำระมาแล้วทั้งหมด ในกรณีที่มีการลดจำนวนเงินเอาประกันในระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ จำนวนเบี้ยประกันก่อนที่จะมีการลดจำนวนเงินเอาประกัน จะลดลงตามสัดส่วนของจำนวนเงินเอาประกันที่ลดลง
2ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์
3เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
4เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
5ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 - 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 - 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
6โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์