
หม่าล่าอร่อยแค่ไหน จำไว้อย่าซด!
ช่วงนี้หันไปทางไหนก็จะเจอแต่ร้าน “หม่าล่าหม้อไฟ” เต็มไปหมด ด้วยรสชาติความอร่อยของน้ำซุปที่ให้ความรู้สึกเผ็ดชาอันเป็นเอกลักษณ์ ทำให้กระแสหม่าล่าหม้อไฟของจีนได้รับความนิยมในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ
หม่าล่า (麻辣) หมายถึง รสชาติของเมนูที่ใส่เครื่องเทศนี้เข้าไป ตามความหมายของอักษรสองตัว คือ 麻 หม่า ที่แปลว่า “ชา” และ 辣 ล่า ที่แปลว่า “เผ็ด” รวมแล้วเมนูนี้จะให้รสที่เผ็ดและชา ซึ่งทั้งสองรสนี้มาจากเครื่องเทศชื่อว่า “ฮวาเจียว” (花椒) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเปลือกของเมล็ดพริกไทยเสฉวน (Sichuan Peppercorn) นำไปบดรวมกับเครื่องเทศชนิดอื่น เช่น โป๊ยกั๊ก กานพลู อบเชย ผักชีล้อม (เฟนเนล) ยี่หร่า และพริก แล้วผัดกับน้ำมันเพื่อให้ได้รสชาติที่เผ็ด ชา มัน เค็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ถือว่าถูกปากคนไทยจำนวนไม่น้อย ทำให้หลายคนเลือกที่จะซดน้ำซุปหม่าล่าเข้าไปด้วย
แต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วการรับประทานหม่าล่าของคนจีนจะไม่ได้ซดน้ำซุปเข้าไปด้วย เป็นเพียงแค่การนำเนื้อสัตว์หรือผักลงไปลวกในซุปหม่าล่าเท่านั้น ก็จะทำให้ได้ลิ้มรสชาติของหม่าล่าแล้ว แต่ถ้าต้องการเติมน้ำซุปเพิ่มขณะรับประทาน ที่ประเทศจีนจะเติมเป็นซุปใสหรือน้ำชาเพิ่มลงไป เพราะด้วยวัตถุดิบของเครื่องเทศที่เข้มข้น หากเพิ่มซุปหม่าล่าเข้าไปอีกก็จะยิ่งทำให้รู้สึกเผ็ด ชา แสบ ร้อน มากยิ่งขึ้น ส่งผลเสียต่อระบบลำไส้ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน แสบร้อนกลางอก ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้หมายความว่าจะห้ามคุณรับประทานหม่าล่าเลยโดยเด็ดขาด เนื่องจากหม่าล่ามีส่วนประกอบของเครื่องเทศจำนวนมาก ซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพเช่นกัน ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่พอดีและรับประทานอย่างถูกวิธี ตามคำแนะนำในการรับประทานหม่าล่าหม้อไฟของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ
สำหรับสายกินทั้งหลายที่ชอบรับประทานหม่าล่า หรือไม่ว่าจะเป็นเมนูใดก็ตาม ควรคำนึงถึงสุขภาพของคุณในระยะยาวด้วย นอกจากนี้ การมีประกันสุขภาพก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้คุณมั่นใจในการรักษา เมื่อเกิดเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการรับประทานอาหาร โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
AIA Health Saver ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย1 ที่คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) ให้เหล่าสายกินอุ่นใจแบบสบาย ๆ จ่ายเบี้ยฯ ได้ไม่หนักใจ
เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล1 ทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) และ ผู้ป่วยนอก (OPD) ให้คุณสบายใจไม่ว่าจะเจ็บป่วยมากหรือเจ็บป่วยน้อยแค่ไหน ก็รับการรักษาได้ก่อนจะกลายเป็นเรื่องใหญ่!
ด้วยเบี้ยประกันภัยที่คุ้มค่า เริ่มต้นเพียง 575 บาทต่อเดือน พร้อมอุ่นใจยิ่งกว่าแม้ตรวจเจอโรคร้ายแรงยอดฮิต เพราะเอไอเอเบิ้ลความคุ้มครองให้เป็นสองเท่า
● เหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 500,000 บาท 1
● เพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า 2 เมื่อตรวจพบ 6 โรคร้ายแรงยอดฮิต3 รวม 4 ปีกรมธรรม์
● เบี้ยฯ เริ่มต้นเพียงเดือนละ 575 บาท4
● คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอก (OPD General) 5 สูงสุดถึง 30 ครั้ง ต่อรอบปีกรมธรรม์ 6
● ดูแลและให้ความคุ้มครองคุณอย่างยาวนานและต่อเนื่อง สูงสุดถึงอายุ 99 ปี
สนใจประกันสุขภาพ AIA Health Saver กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
1 ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์
2 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 - 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 - 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
3 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
4 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยมาตรฐานรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 - 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท
5 เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
6 เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)