--03_Smileling%20depression.jpg)
Smiling Depression
ยิ้มสดใส แต่ข้างในร้องไห้
เมื่อพูดถึง “ความเศร้า” หลายคนคงนึกถึงความหม่นหมอง หรือใบหน้าที่เต็มไปด้วยคราบน้ำตา ปราศจากรอยยิ้ม แต่เอาเข้าจริงแล้ว ความเศร้าอาจไม่ได้ถูกแสดงออกมาตรง ๆ แบบนั้นเสมอไป เพราะก็มีหลายคนที่เลือกจะปกปิดความรู้สึกหดหู่เหล่านั้นไว้ด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ ทั้งที่ภายในใจมีแต่ความเศร้าจนใจพังไปหมดแล้ว บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก “Smiling Depression” ความเศร้าที่คลุกเคล้าไปด้วยรอยยิ้มกัน
Smiling Depression เป็นคำอธิบายภาวะอาการซึมเศร้าของคนที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้วยบุคคลิก ภายนอกที่แสดงออกมาแต่รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะให้กับคนอื่นเสมอ แต่ลึก ๆ ข้างในกลับรู้สึกว่างเปล่า ไร้ความหมาย ไม่มีความสุข คนเหล่านี้มักจะพยายามซ่อนความเศร้าไว้ในใจ และเสแสร้งว่าตัวเองมีความสุข เพื่อไม่อยากให้คนรอบข้างต้องกังวล
ถ้า Smiling Depression คืออาการซึมเศร้าจริง แล้วทำไมพวกเขาถึงต้องยิ้ม? หลายคนคงมีคำถามนี้ผุดขึ้นในใจ แต่เหตุผลนี้สามารถอธิบายได้ตามหลักของจิตวิทยา โดยในทางจิตวิทยาโรคซึมเศร้าประกอบด้วยอาการหลัก คือ อารมณ์เศร้าหมอง ส่วนการยิ้ม หัวเราะ เป็นกลไกการปกป้องตัวเอง (Defense Mechanism) เนื่องจากเขาเหล่านั้นอาจจะกำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต หรือกำลังอยู่อย่างไร้จุดหมาย การสวมหน้ากากรอยยิ้มจะทำให้คนรอบข้างเห็นว่าชีวิตเขาดูสมบูรณ์แบบ ชีวิตดี มีความสุข ทั้งที่ความจริงมีแต่ความทุกข์ที่เกาะกุมอยู่เต็มหัวใจ ความคิดข้างในจิตใจจึงไม่ได้มีความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับความสุขอย่างที่แสดงออกไปเลย
--02_Smileling%20depression.jpg)
มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้หลายคนเลือกที่จะสวมใส่หน้ากากแห่งรอยยิ้มเพื่อปิดบังหยดน้ำตาข้างใน ไม่ว่าจะเป็น
1. ไม่อยากให้ตัวเองเป็นภาระของคนรอบข้างและสังคม
คนกลุ่มนี้มักไม่อยากให้คนอื่นต้องมาดูแล หรือวิตกกังวลกับปัญหาของตัวเอง รวมถึงไม่อยากตกเป็นภาระของใคร ซึ่งความรู้สึกนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ชอบดูแลคนอื่นหรือใส่ใจความรู้สึกคนอื่นมาก ๆ
2. ไม่อยากให้กระทบกับหน้าที่การงาน
แม้ว่าสังคมจะเปิดกว้าง และเข้าใจสภาวะนี้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน หลายคนจึงเลือกที่จะปกปิดอาการเหล่านี้ไว้ เพื่อให้ส่งผลกระทบกับหน้าที่การงานของตนน้อยที่สุด
3. ไม่อยากยอมรับความเศร้า
พอพูดถึงโรคซึมเศร้า อาจจะดูน่ากลัวในสายตาของบางคน ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงเลือกที่จะยิ้มรับทุกอย่างไว้ ทั้งที่ภายในรู้สึกไม่โอเค
4. ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ ไม่อยากยอมรับว่าอ่อนแอ
คนที่รักความสมบูรณ์แบบมาก ๆ เป็น Perfectionist และไม่อยากผิดพลาด มักทำใจยอมรับถึงปัญหาความเจ็บปวดทางใจได้ยาก จึงเลือกที่จะแสดงออกว่าเข้มแข็งและมีความสุขดีอยู่
5. ไม่อยากรู้สึกแปลกแยกจากคนอื่น
ในโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน ทุกคนก็มักจะนำเสนอแต่มุมที่เป็นความสุขในแบบฉบับของตัวเอง ดังนั้นพอเราเริ่มรู้สึกเศร้า รู้สึกแย่ ก็มักจะทำให้เรารู้สึกว่าโดดเดี่ยว และแปลกแยกจากสังคม จนนำไปสู่การไม่กล้ายอมรับความรู้สึกเหล่านั้น
หากคุณรู้ตัวว่ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น หรือกำลังตกอยู่ในสภาวะดังกล่าวแล้วล่ะก็ ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำปรึกษา และการวินิจฉัยที่เหมาะสม ไม่ต้องเขิน ไม่ต้องอาย เพราะการเจ็บป่วยทางจิตใจ ก็ไม่ต่างอะไรกับเวลาที่ร่างกายเราป่วยเลย มันคือเรื่องปกติ
ดังนั้นอย่ามองข้ามสัญญาณเหล่านี้เด็ดขาด และควรรีบพบจิตแพทย์ เพื่อค้นหาวิธีการแก้ไขโดยเร็วกับบริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชัน MORDEE
บริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) เป็นสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอที่ถือกรมธรรม์รายเดี่ยวและรายกลุ่ม ที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)* ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และมีบริการส่งยาถึงบ้าน** ใช้งานง่ายเพียงปลายนิ้ว
สนใจสมัครประกันจาก เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
*เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
**โปรโมชันฟรีค่าจัดส่งยา จำกัดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และเป็นรายการส่งเสริมการขายที่ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ทั้งนี้ เอไอเอไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่งต่าง ๆ เช่น การเดินทางของบุคลากรทางการแพทย์และการจัดส่ง (ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเอกสารต่าง ๆ) เป็นต้น
หมายเหตุ
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ขอ งผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่แถลงข้อความจริงในการขอเอาประกันภัย การปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความเป็นเท็จใด ๆ อาจเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับประกันภัย บอกล้างสัญญาประกันภัยและปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- บริการพบแพทย์ออนไลน์ให้บริการโดย บริษัท ชีวีบริรักษ์ จำกัด ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม (“ชีวี”) และ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (“ทรูดิจิทัล”) ซึ่งเป็นบริษัทนอกกลุ่มบริษัทเอไอเอที่มีความเป็นอิสระ กลุ่มบริษัทเอไอเอไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ชีวี หรือ ทรูดิจิทัล ในแง่ของการถือหุ้นและผู้บริหาร และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใดๆ ของ ชีวี หรือ ทรูดิจิทัล
- บริการพบแพทย์ออนไลน์เป็นชื่อทางการตลาดของการรักษาพยาบาลโดยการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine)