เรียนรู้และเข้าใจ เมื่อแม่ก้าวเข้าสู่ “วัยทอง”

เรียนรู้และเข้าใจ เมื่อแม่ก้าวเข้าสู่ “วัยทอง”

เชื่อว่าครั้งหนึ่งหลายคนก็คงเคยรู้สึกน้อยใจกับพ่อแม่ที่ดูเหมือนจะไม่เข้าใจช่วงชีวิตวัยรุ่นของพวกเราเอาเสียเลย จะทำอะไรก็ถูกห้ามถูกต่อว่าไปเสียหมด

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป จากวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ฮอร์โมนพลุ่งพล่าน ก็กลายเป็นวัยผู้ใหญ่ที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น ส่วนพ่อแม่ที่เคยอยู่ในวัยทำงานก็เตรียมย่างก้าวเข้าสู่วัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อภาวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย 

จนบางทีก็อาจเกิดความน้อยใจไม่ต่างกันว่าทำไมลูกไม่เข้าใจพ่อแม่บ้าง เป็น “วัยทอง” ก็เหนื่อยเหมือนกันนะ !

วันแม่ปีนี้ ลองเปลี่ยนจากการมอบดอกไม้ให้แม่ มาเป็นการสร้างความรักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะ “วัยทอง” กันดีกว่า

จริง ๆ แล้ววัยทองเป็นสภาวะความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง แต่สามารถพบได้บ่อยกว่าในเพศหญิง

เนื่องจากฮอร์โมนเป็นสารเคมีทางธรรมชาติที่ร่างกายผลิตขึ้น และเป็นตัวกำหนดความเป็นหนุ่มสาวในร่างกายของคนเรา เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้เพศหญิงมีผิวพรรณที่สวยสดใส มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส

ส่วนเพศชายก็จะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง เต็มไปด้วยพละกำลัง แต่เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนเหล่านี้ก็จะลดลงเรื่อย ๆ และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า “สภาวะวัยทอง” นั่นเอง

สำหรับเพศหญิง ฮอร์โมนที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งอยู่ในรังไข่ ช่วยในเรื่องของการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การมีบุตร และเรื่องความเต่งตึงชุ่มชื้นของผิวพรรณ ทั้งยังช่วยควบคุมเรื่องของอารมณ์ไม่ให้แปรปรวนง่าย รู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉง นอนหลับสนิท ไม่อ่อนเพลีย พร้อมช่วยสร้างภูมิต้านทานป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุนต่าง ๆ

การก้าวเข้าสู่วัยทองของสตรีนั้น จะค่อย ๆ เริ่มจาก วัยทองระยะที่ 0 คือเป็นช่วงวัยที่ใกล้หมดประจำเดือน แต่ยังมีประจำเดือนมาตามปกติบ้าง หรือไม่มีบ้าง แต่ไม่ถึง 1 ปี โดยช่วงวัยนี้อาจกินระยะเวลายาวนานได้หลายปี

ก่อนจะก้าวเข้าสู่วัยทองระยะที่ 1 ที่มีอาการประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ จากที่เคยมาทุกเดือน อาจมาทุก ๆ 3 สัปดาห์

วัยทองระยะที่ 2 ประจำเดือนจะเริ่มมาห่างกันมากขึ้น เช่น 2-3 เดือน มาหนึ่งครั้ง ก่อนจะเข้าสู่วัยทองระยะที่ 3 คือ ช่วงที่ไม่มีประจำเดือนเลยจนครบ 1 ปี

หลังจากนั้นจึงจะนับว่าเป็นการก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเริ่มนับเมื่อขาดประจำเดือนเป็นเวลาต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี ที่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี

 

สตรีวัยทองแต่ละรายอาจมีความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งยังสามารถหายไปเองเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา หรือคงอยู่ตลอดไปจนสิ้นอายุขัย

ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะมีตั้งแต่เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างรู้สึกไม่สบายตัว ร้อนวูบวาบตามร่างกาย นอนไม่หลับ สมาธิสั้น หลงลืมง่าย ปวดกระดูกและข้อ ใจสั่น วิตกกังวล

ไปจนถึงอาการที่รุนแรงในระยะยาว ที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นโลหิตสมองแตกหรือตีบ โรคเส้นโลหิตหัวใจตีบตัน ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งมักจะแสดงอาการที่ชัดเจนขึ้นในช่วงอายุประมาณ 60-70 ปี

สำหรับลูก ๆ สามารถช่วยดูแลและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของคุณแม่วัยทองได้ดังนี้

 

1. ดูแลเรื่องอาหารการกิน

สตรีวัยทองนั้นควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด งาขาว งาดำ นมสด กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ปลาเล็กปลาน้อย ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ ถั่วแดง ฟักทอง กะหล่ำปลี บรอกโคลี แคร์รอต ข้าวกล้อง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน และช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

ลดอาหารประเภท แป้ง อาหารมัน อาหารทอด อาหารเค็ม น้ำหวาน ชา กาแฟ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะอาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน และกระวนกระวายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง เพื่อลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิด ที่ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของคุณแม่วัยทองได้ เช่น อาหารที่ช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ให้สมดุล อย่างข้าวสาลีและธัญพืช แคร์รอต น้ำมะพร้าว น้ำเต้าหู้

อาหารที่ช่วยลดอาการวูบวาบ เช่น ผักและผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีและฟลาโวนอยด์ น้ำมันตับปลา น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอะโวคาโดที่มีวิตามินอี

 

2. หากิจกรรม หรืองานอดิเรกทำร่วมกัน

การให้คุณแม่ได้มีกิจกรรมทำในยามว่าง เช่น ท่องเที่ยว ดูหนัง ชอปปิงประดิดประดอยสิ่งของ ทำอาหาร ทำสวน นอกจากจะช่วยคลายเหงาได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดความเครียด ทำให้จิตใจแจ่มใสเบิกบาน และทำให้สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่อีกด้วย  นอกจากนี้สตรีวัยทองก็ยังควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

 

3. มอบความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลคุณแม่วัยทอง คือการมอบความรัก ความเข้าใจ และการดูแลเอาใจใส่ เพราะหลากหลายอาการของคุณแม่วัยทองนั้นล้วนเกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่คุณแม่เองก็ไม่สามารถควบคุมมันได้ เช่น อารมณ์ที่แปรปรวน ความหงุดหงิด ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจไปเสียหมด ไม่ต่างอะไรกับสมัยที่เราเป็นวัยรุ่น และต้องเผชิญกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นั่นเอง

ดังนั้นแล้วความเข้าใจและการตระหนักรู้ถึงอาการต่าง ๆ ที่คุณแม่วัยทองต้องเผชิญจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูก ๆ สามารถอยู่ร่วมกับคุณแม่วัยทองได้อย่างสบายใจ และยังช่วยให้คุณแม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะวัยทองได้อย่างเหมาะสม

อีกทั้งการแสดงความรักและความเอาใจใส่ด้วยวิธีการง่าย ๆ อย่างการกอด การหอม ก็ยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ทั้งคุณแม่วัยทองและลูก ๆ ร่วมกันก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข

นอกเหนือจากการดูแลเอาใจใส่ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว เราก็ยังสามารถเตรียมพร้อมและเพิ่มความอุ่นใจเรื่องสุขภาพให้กับคุณแม่ได้ด้วย AIA CI SuperCare 10/99 (Non Par) ประกันโรคร้ายแรงที่คุ้มครองทั้งชีวิตและโรคร้ายแรงที่อาจมาในเวลาที่ไม่คาดฝัน

●       คุ้มครองสูงสุดถึง 62 โรคร้ายแรง/การรักษา*

●       หากไม่เคลมสามารถเวนคืนกรมธรรม์ได้ 100%** เมื่อครบกำหนดสัญญา

●       เบี้ยฯ คงที่ ไม่เพิ่มตามอายุ

●       เลือกจ่ายเบี้ยฯ 10 ปี คุ้มครองตลอดชีพ หรือ ถึงอายุ 99 ปี

สนใจทำประกันให้คุณแม่สูงวัย กดติดต่อกลับ และกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตจากเอไอเอแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ

*คุ้มครองโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง รวม 18 โรค/การรักษา และคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรง 44 โรค/การรักษา (รวมโรคเด็ก 4 โรค)

**ของจำนวนเงินเอาประกันภัย หัก ผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลางที่จ่ายไปแล้ว (ถ้ามี)

หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมอนามัย และกรมการแพทย์ 

แบบฟอร์มการติดต่อ ถูกใจ 0

วิธีการติดต่อ
สนใจบทความนี้? ติดต่อกลับเพื่อรับคำปรึกษาและใบเสนอราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

ข้อมูลที่จำเป็น
ชื่อเต็มของคุณ
กรุณากรอกข้อมูลชื่อให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
กรุณากรอกข้อมูลนามสกุลให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
ชื่อเต็มของคุณ
กรุณากรอกข้อมูลนามสกุลให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น
กรุณากรอกข้อมูลชื่อให้ถูกต้อง
โปรดระบุชื่อหรือนามสกุลเป็นตัวอักษรเท่านั้น

ข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ
กรุณากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์มือถือให้ครบ 10 หลัก
อีเมล
กรุณากรอกข้อมูลอีเมลให้ถูกต้อง
รหัสประเทศ
กรูณากรอกข้อมุลรหัสประเทศให้ถูกต้อง
กรุณากรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ให้ถูกต้อง
กรุณากรอกข้อมูลอีเมลให้ถูกต้อง
จังหวัด

ข้าพเจ้ายินยอมให้บริษัท เอไอเอ จำกัด และกลุ่มบริษัทเอไอเอ (เอไอเอ) สามารถเก็บใช้ข้อมูลที่ข้าพเจ้าให้ไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ปรากฏในเอกสารประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ หรือแจ้งสิทธิประโยชน์ แจ้งข้อมูลข่าวสารของเอไอเอ ติดต่อและนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ กรมธรรม์ ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนประกันชีวิต การเป็นที่ปรึกษาด้านประกันชีวิตและการเงิน (FA) หรือ AIA Life Advisor และใช้เพื่อประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจของข้าพเจ้าที่มีต่อการนำเสนอข้อมูลทางการตลาดเพื่อให้เอไอเอปรับปรุง และพัฒนาการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ และข้อมูลทางการตลาด รวมถึงยินยอมให้เอไอเอส่งหรือโอนข้อมูลแก่พันธมิตรทางการค้า/คู่ค้า ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิต (ถ้ามี) เพื่อดำเนินการในลักษณะเดียวกันข้างต้น
ฉันยืนยันว่าฉันได้อ่านและยอมรับเงื่อนไขการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ สามารถศึกษานโยบายข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่เว็บไซต์ของเอไอเอตามลิ้งค์ดังต่อไปนี้ www.aia.co.th/privacy และสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ร้องขอใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด ได้ที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (DPO) ผ่านเอไอเอคอลเซ็นเตอร์ โทร. 1581 หรืออีเมลมาที่ th.privacy@aia.com หรือติดต่อตามที่อยู่ที่ บริษัท เอไอเอ จำกัด 181 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพ 10500
ส่ง