
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ความจริงของชีวิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่วางแผนรับมือได้
“ไอศกรีมรสแกงเขียวหวาน”
“ห้างสรรพสินค้าเปิดใหม่ที่ดวงจันทร์”
“ร้านไก่ทอดแบรนด์ดังเปิดตัวเมนูใหม่กระดูกไก่ล้วน”
ทั้งหมดคือคอนเทนต์สนุก ๆ จากแบรนด์ต่าง ๆ ที่เราอาจเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างกับเทศกาล “วันแห่งการโกหก” หรือ April Fool’s Day ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าจริง ๆ แล้วโลกของเรายังมีอีกวันหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับวันแห่งการโกหกโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็คือ “วันพูดความจริง”
โดยทุกวันที่ 7 กรกฎาคม ของทุกปีนั้น ถูกกำหนดให้เป็น "วันพูดความจริง" หรือ "Tell the Truth Day" ซึ่งจะเป็นวันที่เชิญชวนให้เราพูดแต่ความจริง และห้ามโกหกกัน เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนทั่วโลกได้แสดงความจริงใจและพูดความจริงต่อกัน ไม่ว่าจะกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรักนั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่วันพูดความจริงนี้ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมเมื่อเปรียบเทียบกับวันแห่งการโกหก ก็อาจจะเป็นเพราะว่าบางทีคนเรานั้นอาจจะชอบการโกหกมากกว่าการพูดความจริง หรือบางทีคำโกหกก็อาจจะหอมหวานน่าฟังกว่าความจริงที่ต้องเจอก็เป็นได้
และเมื่อพูดถึงความจริงแล้วคงไม่มีอะไรจะจริงแท้แน่นอนไปกว่าสัจธรรมความจริงของชีวิตที่ว่าคนเรานั้นต่างต้องเกิด แก่ เจ็บ และตายในท้ายที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องในวันพูดความจริงปีนี้ เอไอเอ ขอชวนทุกคนมาพูดคุยกันเกี่ยวกับ 4 ความจริงของชีวิตในประเด็นการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ที่แม้จะไม่อยากพูดถึง และหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็อาจวางแผนรับมือกับมันได้หากกล้าที่จะพูดถึงมันตั้งแต่วันนี้

ความจริงที่เราต้องเจ็บ (ป่วย)
เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือประโยคคุ้นหูที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่ยุคสมัยอดีต ซึ่งพยายามอธิบายช่วงชีวิตต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเริ่มตั้งแต่แรกเกิดเป็นทารก เติบโตจนเข้าสู่วัยหนุ่มสาว แก่เฒ่า และเจ็บป่วย ก่อนที่จะตายในท้ายที่สุด แต่ดูเหมือนในยุคสมัยปัจจุบันนั้นอาจจะไม่จำเป็นรอถึงแก่เฒ่า มนุษย์เราก็สามารถเจ็บป่วยร้ายแรงกันได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
โดยจากการเก็บสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งในคนอายุน้อยเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขที่พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มคนอายุ 18-50 ปีมากขึ้นเรื่อย ๆ จากที่เคยพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่
วามจริงที่เราต้องเจ็บป่วยจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คำถามที่สำคัญคือแล้วเราจะวางแผนรับมือกับค่าใช้จ่ายในการรักษาเหล่านี้อย่างไร?
ความจริงที่เราต้องแก่เฒ่า
นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพและการเจ็บป่วยแล้ว คุณภาพชีวิตและเงินเก็บหลังเกษียณก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เราต้องเผชิญในวัยที่อายุมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลสำรวจโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่าผู้สูงอายุของไทย กว่า 31% ไม่มีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ ในขณะที่อีก 53% ของผู้สูงอายุที่มีเงินออม ก็มีเงินไว้ใช้หลังเกษียณไม่ถึง 200,000 บาท ซึ่งหากคำนวณว่าจะต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นเวลา 20 ปี จะทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีเงินใช้เพียงวันละ 28 บาท เท่านั้น
ความจริงที่เราต้องจากไป
แม้ที่สุดแล้วตลอดชีวิตของเราอาจไม่เคยเจ็บป่วยเลย หรือมีเงินทองเหลือใช้ในยามแก่เฒ่า แต่ความตายก็ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่ทุกชีวิตไม่อาจหลีกเลี่ยง
แต่คำถามที่สำคัญคือแล้วเราได้วางแผนรับมือกับการจากไปในครั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าคนข้างหลังที่ยังอยู่นั้นจะได้รับการดูแลและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีจนตลอดรอดฝั่งอย่างที่เราหวังไว้หรือไม่?
แม้ความจริงทั้ง 3 ข้อนี้ของชีวิตจะเป็นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ทั้งหมดล้วนแล้วแต่สามารถวางแผนรับมือได้ด้วยแผนประกันที่หลากหลายจาก เอไอเอ เพื่อทุกช่วงเวลาสำคัญของชีวิตได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม
ทั้งประกันสุขภาพที่ช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ประกันบำนาญที่จะช่วยให้คุณเกษียณได้อย่างสำราญ และประกันชีวิตที่ช่วยส่งต่อความมั่นคงให้กับคนข้างหลังในยามที่คุณจากไป
สนใจสมัครประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูลจาก
- สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- กระทรวงสาธารณสุข
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย