
เช็กความเครียดหลังโต๊ะทำงาน
เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day)
“ความเครียดจากการทำงาน” ถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม โดยจากผลสำรวจพนักงานทั่วโลกล่าสุดที่จัดทำโดย Gallup1 พบว่าพนักงานในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกถึง 52% กำลังเผชิญกับสภาวะความเครียดจากการทำงาน ในขณะที่ประเทศไทยเองก็ถูกจัดเป็นอันดับ 3 ของประเทศที่มีความเครียดจากทำงานมากที่สุดในอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์และเมียนมาร์ โดยกว่า 64% บอกว่าตนเองนั้นกำลังตกอยู่ในสภาวะความเครียดจากการทำงานหนัก
ถึงเวลาแล้วที่เราจะลองพักการทำงานสักแป๊บ แล้วมาสำรวจตัวเองกันก่อนว่ามีอะไรที่ทำให้เราเครียดจากการทำงานได้บ้างในแต่ละวัน เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก หรือ World Mental Health Day ปีนี้กัน
1. เครียดจากปริมาณงาน
ลองพิจารณาดูว่า งานเยอะเกินไปหรือเปล่า? จากผลสำรวจพบว่าปัญหาที่คนทั่วโลกยกให้เป็นอันดับหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) และอาการซึมเศร้า (Depression) นั่นคือ ปริมาณงานที่เยอะเกินจะรับไหว
ซึ่งคำแนะนำสำหรับข้อนี้นั้นก็ต้องบอกเลยว่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาก ๆ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมและพบว่าพอจะช่วยให้ปัญหาเบาบางลงได้คือ การจัดลำดับความสำคัญในงานเพื่อช่วยให้เราจัดการงานได้ดีขึ้น ให้ความสำคัญในการตั้งวันส่งงานที่เป็นไปได้จริงเพื่อไม่ให้ต้องอัดทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ และสุดท้ายควรตั้งเวลาพักเป็นระยะเพื่อไม่ให้ความเครียดสะสมมากจนเกินไป
2. เครียดจากการเดินทาง
คุณเป็นอีกคนใช่หรือไม่? ที่เครียดจากการเดินทางไปและกลับจากที่ทำงาน ประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ขึ้นชื่อเรื่องรถติดแทบจะทุกพื้นที่ในเวลาเร่งด่วน ยิ่งวันไหนฝนตก ก็ยิ่งทำให้เกิดความเครียดในการเดินทางได้
ข้อแนะนำที่อาจช่วยให้คุณผ่อนคลายได้ง่าย ๆ ก็คือ การฟังเพลงหรือดูคลิปที่เราสนใจระหว่างการเดินทาง หรือถ้าใครมีกองหนังสือที่ซื้อมาดองไว้ แต่ยังไม่มีโอกาสได้หยิบมาอ่านซักที การติดหนังสือไปสักเล่มเพื่ออ่านระหว่างเดินทางโดยเฉพาะในช่วงที่รถติด ๆ ก็เป็นไอเดียที่ดี รวมถึงอย่าลืมเผื่อเวลาการเดินทางไว้บ้างในวันที่รถติดเป็นประจำ
3. เครียดจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน
นอกเหนือจากตัวงานที่ต้องทำแล้ว สภาวะแวดล้อมในที่ทำงานก็อาจส่งผลต่อความเครียดได้เช่นกัน ทั้งบรรยากาศในที่ทำงาน วัฒนธรรมองค์กร หรือแม้แต่ลักษณะนิสัยส่วนตัวของเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถก่อให้เกิดความเครียดไปจนถึงสภาวะหมดไฟในการทำงานได้ทั้งสิ้น
แม้จะเป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม แต่หนึ่งในคำแนะนำที่เราอยากให้คุณลองทำก็คือการมีเพื่อนสนิทสักคนในที่ทำงานไว้คอยเป็นพื้นที่ปลอดภัย ฮีลใจในยามเหนื่อยล้า หรือแม้แต่นั่งคุยเรื่องสัพเพเหระกันระหว่างวัน กินข้าวด้วยกันตอนพักเที่ยง หรือไปไหนมาไหนด้วยกันหลังเลิกงาน
ลองเปิดใจให้ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน แล้วจะรู้ว่าการมีเพื่อนสนิทในที่ทำงานนั้นดีต่อใจ และเปลี่ยนแปลงชีวิตวันทำงานอันแสนเคร่งเครียดของคุณไปได้ขนาดไหน
วันสุขภาพจิตโลกของทุกปีก็เหมือนกับเป็นการเตือนใจให้เรารับรู้ว่าสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ต่างจากสุขภาพร่างกาย บางครั้งการพบจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดก็เป็นเรื่องปกติและจำเป็น โดยเฉพาะในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนี้

ถ้าลองสังเกตตัวเองแล้วมีสัญญาณความเครียดเหล่านี้อยู่ในตัวและอาจลุกลามบานปลายจนกลายเป็นปัญญาสุขภาพจิตก็อย่ามองข้ามสัญญาณเหล่านี้เด็ดขาด และควรรีบพบจิตแพทย์ เพื่อค้นหาวิธีการแก้ไขโดยเร็วกับบริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชัน MORDEE
บริการพบแพทย์ออนไลน์ (Telemedicine) เป็นสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอที่ถือกรมธรรม์รายเดี่ยวและรายกลุ่ม ที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก (OPD)* ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และมีบริการส่งยาถึงบ้าน** ใช้งานง่ายเพียงปลายนิ้ว
สนใจประกัน เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
*เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
**โปรโมชันฟรีค่าจัดส่งยา จำกัดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และเป็นรายการส่งเสริมการขายที่ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ทั้งนี้ เอไอเอไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่งต่าง ๆ เช่น การเดินทางของบุคลากรทางการแพทย์และการจัดส่ง (ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ สิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเอกสารต่าง ๆ) เป็นต้น
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
- บริการพบแพทย์ออนไลน์ให้บริการโดย บริษัท ชีวีบริรักษ์ จำกัด ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม (“ชีวี”) และ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (“ทรูดิจิทัล”) ซึ่งเป็นบริษัทนอกกลุ่มบริษัทเอไอเอที่มีความเป็นอิสระ กลุ่มบริษัทเอไอเอไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ชีวี หรือ ทรูดิจิทัล ในแง่ของการถือหุ้นและผู้บริหาร และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจใดๆ ของ ชีวี หรือ ทรูดิจิทัล
- บริการพบแพทย์ออนไลน์เป็นชื่อทางการตลาดของการรักษาพยาบาลโดยการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine)
รวบรวมข้อมูลโดย กลุ่มบริษัทเอไอเอ “AIA Content Starter Kit: All About Street”
1 Gallup, Inc. (2023). State of the Global Workplace Report – Gallup, Gallup.com