
ขึ้นรถสาธารณะก็มีข้อดีเหมือนกันนะ !
เรารู้! ทุกคนรู้! ว่าคนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับปัญหารถติดเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้การเดินทางล่าช้า แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลภาวะทางอากาศ เพราะยิ่งรถติดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทําให้ มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น เนื่องจากเครื่องรถยนต์จะมีการปล่อยสารพิษออกมา เช่น ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ฝุ่นละอองจากการปล่อยควันไอเสีย เป็นต้น ซึ่งหากสูดดมเข้าไปเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะมีผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด การทำงานของปอดที่แย่ลง จนนำไปสู่การเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งปอดได้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ปัญหารถติดยังทำให้ผู้คนต้องนั่งอยู่ในรถเป็นเวลานาน ได้รับผลกระทบทางสุขภาพด้านกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น เกิดอาการปวดขา คอ บ่า ไหล่ หลัง รวมไปถึงทำให้เกิดภาวะเครียด ที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลงได้อีกด้วย เนื่องจากต้องเผชิญกับความล่าช้าและความไม่แน่นอนของเวลาในการเดินทาง
ทุกวันนี้ ด้วยระบบการคมนาคมและถนนหนทางของประเทศไทยที่พัฒนาก้าวหน้าไปมาก การเดินทางโดยรถสาธารณะถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีข้อดีต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

ดังนั้นองค์กรในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงได้ร่วมกันกำหนดวันปลอดรถโลก หรือ World Car Free Day ขึ้น ในวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เพื่อรณรงค์ให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ ปั่นจักรยาน หรือเดินให้มากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัด ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเจ้าของรถ ทั้งค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ที่สำคัญคือช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ นำไปสู่การมีคุณภาพอากาศและสุขภาพร่างกายของประชากรที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการช่วยเพิ่มการออกกำลังกายสำหรับคนที่หันมาปั่นจักรยานหรือใช้วิธีเดินเท้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ ลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ
นอกจากนี้ การเดินทางด้วยรถสาธารณะยังได้รับแรงบันดาลใจที่อาจกลายเป็นไอเดียทางธุรกิจหรือไอเดียใหม่ ๆ ในการทำงานได้อีกด้วย
เพิ่มความอุ่นใจทุกการเดินทางของคุณไปกับ AIA Multi-Pay CI ประกันโรคร้ายแรงที่ “เจอ จ่าย หลายจบ” พร้อมจ่ายผลประโยชน์ซ้ำ¹ หากตรวจพบโรคร้ายแรง² ซ้ำอีกครั้ง รับความคุ้มครองรวมสูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย³ ติดตัวไว้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในยามเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง
สนใจสมัคร AIA Multi-Pay CI กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบประกันที่เหมาะกับคุณ
¹การจ่ายผลประโยชน์ Relapsed CI แต่ละครั้งจะถูกนับและใช้สิทธิภายใต้จำนวนครั้งสูงสุด (6 ครั้ง) และจะไม่นำระยะเวลาห้ามเคลม (No claim period) มาพิจารณา
²สำหรับ 3 โรคร้ายแรงระดับรุนแรง ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
³กรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์ว่า เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง และหรือโรคร้ายแรงระดับรุนแรงตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากสาเหตุและหรือเหตุการณ์เดียวกัน บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้สูงที่สุดเพียง 1 โรคเท่านั้น และให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
● กรณีที่ 1 ผลการวินิจฉัย “โรคมะเร็งระยะลุกลาม” และ “โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม” ระบุว่า เกิดขึ้นที่อวัยวะเดียวกัน ข้างเดียวกัน และได้รับการรักษาหรือผ่าตัดในครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 2 การบาดเจ็บ “แผลไหมฉกรรจ์” และ “แผลไหมชนิดรุนแรงน้อย” ที่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 3 การเจ็บป่วยเป็น “โรคน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย” และ “การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง” ซึ่งเป็นการรักษาครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 4 “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” และต่อมาผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังต่อไปนี้ “อัมพาตของกล้ามเนื้อ แขนหรือขา” หรือ “การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ” หรือ “การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง” หรือ “ตาบอด” โดยโรคร้ายแรงระดับรุนแรง ดังกล่าวเกิดจากสาเหตุเดียวกันกับ “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” ทั้งนี้ จะถือว่าการจ่ายผลประโยชน์ใน 4 กรณีนี้เป็นการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงในแต่ละกรณีเท่านั้น
หมายเหตุ :
- ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์